ReadyPlanet.com
dot dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
เปิดจองพระเครื่องสร้างใหม่
ห้องคิวจอง
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot

dot
มุมอมยิ้ม


แบนเนอร์ตัวอย่าง
Facebook bt-pra
บัวทองพระเครื่อง
ข่าวออนไลน์
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล


ข้อมูลเกี่ยวกับวัดเทียนถวายจากหนังสือต่างๆ

ข้อมูลเกี่ยวกับวัดเทียนถวายจากหนังสือต่างๆ

ที่ค้นพบ และพยายามรวมรวมไว้ ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ และเผยแผ่ 

ติดต่อ 081-5605888 (มานิตย์)

---------------------------------------

จากหนังสือ..ที่ระลึกในการสร้างพระพุทธลิ้นทอง

ของพระปทุมวรนายก พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑

คำนำ

       เรื่องนี้ ข้าพเจ้าคิดใคร่พิมพ์เป็นเล่ม แจกให้พุทธคำถนิกชนมาเป็นเวลานานล้า  แต่ไม่มีโอกาสที่จะร่างต้นฉบับขึ้นได้ เพราสติสัมปชัญญะกำลังหลงลืมและบกพร่องวันนี้ได้มีโอกาส ที่นาย สุเทพ ศรีกระจ่างและนายเฉลิมพันธ์ อินทรามาพร้อมหน้ากัน  ข้าพเจ้าถือความวิสาสะที่เคยเป็นศิษย์มา จึงให้เราทั้งสองช่วยร่างต้นฉบับขึ้นราวสัก ๒ ชั่วโมงการเขียนร่างต้นฉบับจึงเสร็จสิ้น  จึงปรารถจะพิมพ์ต่อไป

พระปทุมวรนายก

 

       อวสานลิขิต

 

     ข้าพเจ้า  พระปทุมวรนายกอายุล่วงแล้วได้ ๗๐ ปีเศษ  รู้สึกใจว่าใกล้วันอวสานจักถึงที่สุดแล้วแค่ยังระลึกถึงคุณของ ชาติ ศาสนา ที่ได้อุปถัมภ์บำรุงให้ชีวิตของข้าพเจ้าเจริญมาจนถึงบัตนี้  ด้วยความขอบใจที่โรคภัยไข้เจ็บ ให้เกียรติคุณแก่ข้าพเจ้าเป็นลำดับมา ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ร่างกายของข้าพเจ้า ยังสมบูรณ์อยู่บางส่วนเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญกรณียกิจ ตามระเบียบการของพระพุทธศาสนาได้ ปี พ.ศ. ๒๓๙๙  ขณะเมื่อข้าพเจ้าสวดมนต์เสร็จแล้ว เข้าที่จำวัตร์ หลับได้สนิทดี จนถึงเวลาประมาณ ๓.๐๐ น. เศษ ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังจำวัตร์หลับสนิทนั้นได้ฝันเห็นภาพกะทาชายผู้หนึ่ง อายุประมาณ ๖๐ ปีเศษนุ่งขาวจูงกระเบนห่มขาว เข้าไปใกล้ที่เตียงนอนแล้วปลุกข้าพเจ้าว่า“ท่าน ท่าน  ท่านอยากจะได้พระบรมธาตุหรือ ท่านก็จงเปิดโกศของท่านดูสิ” (โกศใบนี้พร้อมด้วยตู้เล็ก ๑ ใบ ตู้กว้าง ๑ คืบ สูง ๑ คืบเศษมีโกศ

ใส่พระธาตุพระเครื่องอยู่ในนั้นด้วย  ข้าพเจ้าได้รับมรดกมาจาก  ต้นตระกูล เมืองนนท์ คลองบางซื่อ  ได้บูชาอยู่กว่า ๓๐ ปี)

              ข้าพเจ้าเปิดดูแล้ว  นำโกศออกมาเปิดดู เมือเปิดโกศเอาพระธาตุและเครื่องออกหมดแล้ว  ไม่เห็นมีอะไรเป็นที่แปลกตา  จึงผินหน้าไปหัวเราะเยาะกะทาชาย กะทาชายเขาตอบมาอีกว่ท่านเอานิ้วคนลงไปให้ถึงก้นโกศซิ   ข้าพเจ้าได้กระทำตากะทาชายนั้นบอก  เมื่อยกมือขึ้นมาพ้นปากโกศก็มองเห็นพระบรมธาตุติดปลายนิ้วมา   โตประมาณเท่าซีกเม็ดพริกไทย อย่างเล็ก  ข้าพเจ้าจึงอัญเชิญประดิษฐานบนพานทอง  ตั้งสักการบูชาในคืนนั้นด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง   ตั้งใจจะสร้างพระพุทธเจดีย์   เพื่อเป็นที่สักการะบูชาทั้งส่วนตัวและส่วนศาสนิกชน  ข่าวมงคลนี้ได้กระจายแพร่หลายไป ทราบถึงพุทธศาสนิกชนเป็นส่วนมากผู้ที่เลื่อมใสศรัทธามาก   ได้ส่งเงินเข้ามาสมทบการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  ข้าพเจ้าจึงติดเปลี่ยนวิธีสร้าง เป็นรูมณฑปเพื่อประโยชน์แก่ชาติศาสนาต่อไป   แต่ในปีนั้นเหตุการณ์ของโลก   กำลังฉุกเฉินและคับขันอยู่ ด้วยการสงครามรอบ

 

ทิศ  เดชะพระบารมีคุณแห่งพระพุทธศาสนา  ทำให้ชาติไทยเราเจริญเป็นลำดับมา

             ข้าพเจ้าเมื่อได้เห็น และทราบอภินิหารของพระบรมธาตุนี้แล้ว  เกิดความเสื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง   ที่ข้าพเจ้าพูดนี้พูดตามความเห็นอภินิหารของพระบรมธาตุนั้น เป็นความจริงทุกอย่าง   ในเรื่องที่ได้พระบรมธาตุและเห็นพระอภินิหาร  ที่พูดถึงอภินิหารของพระบรมธาตุนั้น  เป็นความจริงทุกประการ  เพราะข้าพเจ้าเป็นสมณะมีศีลเป็นที่รักยิ่ง

             เมื่อการก่อสร้างมณฑป  และบรรจุพระบรมธาตุเสร็จแล้ว  เมื่อกำลังจำวัตรหลับสนิทดี  ได้ฝันไปว่ามีใครมาบอกพระคาถาให้

             พุทโธ  พุทธานัง  พุทธะลาภัง  วิภาสิตัง  พุทธะตังสมะนุปัดโต  พุทธะตัง  ชิวหาสุวัณณัง  มะธุวาจังบียัง มะมะ ฯ 

               พระคาถานี้  ข้าพเจ้าได้ โดยฝัน  และได้ท่องอยู่กำลังหลับเหมือนละเมอ  สักครึ่งชั่วโมง  เมื่อตื่นขึ้นจึงได้รีบบันทึกไว้ในสมุด  เมื่อข้าพเจ้าตื่นขึ้นแล้ว  จึงได้นำต้นฉบับ

 

ไปกราบเรียนหารือกับเจ้าคุณพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุท่านรับรองว่า  ไม่มีอักขระตัวใด ที่จะผิดพลั้ง หรือผิดระเบียบพุทธคาถา  ท่านขอต้นฉบับไว้ ๗ แผ่น เมื่อข้าพเจ้ากลับมา  พบท่านผู้หญิงคนหนึ่งได้อ่านแล้วมีความเลื่อมใสมาก  พิมพ์เพิ่มเติมสัก ๑๐๐๐ จบ โดยบอกว่า  ขอให้แจกพวกแล้วให้ทราบกันทั่วกันหน่อย  แต่เสียดายที่ยังไม่พบคุณหญิงผู้นั้น   เพื่อแจ้งเรื่องให้ทราบจะยินดีมาก  ส่วนข้าพเจ้ากลับมาถึงวัด   ได้นพระคาถาขึ้นบูชา  คัดเอาแต่หัวใจของคาถา  สร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์พระ   สร้างมณฑปขึ้น ๑ หลัง ราคา ๓,๓๐๐๐ เศษ   เมื่อมณฑปเสร็จแล้ว จะได้นำพระพุทธลิ้นทอง  ที่สร้างขึ้นด้วยหัวใจพระพุทธคาถา  ขึ้นประดิษฐาน  เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ทำสักการบูชาให้สมความปรารถนาในเร็ววันนี้  ขอท่านทั้งหลาย จงตั้งใจทำการสักกาบูชา  เพื่อความเจริญของชาติ  ศาสนา ของเราต่อไป

               ที่ข้าพเจ้าพรรณนามานี้  ด้วยความจริงที่ข้ามพเจ้าได้เห็น

 

มาแล้วทุกประการ โอกาสน้อย ที่จะพิมพ์หนังสือเรื่องนี้แจกกันโดยทั่วถึง ขอท่านทั้งหลาย จงได้รับความสวัสดีและเจริญงอกงาม ด้วยความสุขโดยทั่วกันเทอญ

พระปทุมวรนายก

เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ ธรรมบรรณาคาร เลขที่ ๒๕๕

สี่แยกประตูผี   ถนนบำรุงเมือง  พระนครบายเซ้ง แซ่เดียว  ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา๒๕๐๑

 

*****************************************************************************************

จากหนังสือ ประวัติวัดเทียนถวาย

ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต ยกช่อฟ้าอุโบสถ

วันที่ ๑๖-๒๔ มกราคม ๒๕๔๒

รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระมหาสมศักดิ์ สมสตฺติโก ป.ธ.๕ น.ธ.เอก

ประวัติวัดเทียนถวาย

              วัดเทียนถวาย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔๕ ไร่ ๙๐ตารางวา โฉนดเลขที่ ๔๙๗๕ ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๑๐๙ ไร่ ๑ งาน ๙๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๔๔๔, ๓๙๕๔ , ๒๒๔๓๙ ,๙๑๓

สภาพของวัด

ด้านทิศเหนือยาว ๗ เส้น ๑๘ วา                        ติดต่อกับซอยแยกถนนติวานนท์

ด้านทิศใต้ยาว ๕ เส้น ๑๒ วา                          ติดต่อกับคลองบางสาน

ด้านทิศตะวันออกยาว ๘ เส้น ๕วา                  ติดต่อกับซอยถนนเชื่อมคลองบ้านใหม่

ด้านทิศตะวันตกยาว ๕ เส้น ๓วา                    ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก

พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่ม การคมนาคมทางน้ำมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านด้านทิศตะวันตก

             ตามประวัติเดิม วัดเทียนถวาย ได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๐ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระเจ้าอู่ทอง ในฐานะเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นทรงสั่งให้สร้างขึ้นในคราวที่ได้อพยพหนีโรคระบาด มาตั้งกองเกวียนพักอาศัย กลางคืนจุดไฟสว่างไสว พักอยู่ประมาณ ๑ เดือนเศษ ก่อนที่จะอพยพกลับเมืองได้สร้างวัดขึ้น แล้วขนานนามว่า “วัดเกวียนไสว” โบราณวัตถุที่นำมาบางอย่างยังอยู่ที่วัดต่อมานามวัดได้เพื้ยนมาเป็น “วัดเทียนถวาย” ชาวบ้านบางคนเรียกอีกนามหนึ่งว่า “วัดเหล้าจืด” หมายถึงคนเมาสุรามาถึงวัดนี้ ก็หายเมาเสมือนว่าเหล้าจืด เพราะความเกรงกลัวท่านเจ้าอาวาส ในสมัยก่อนนี้คือพระธรรมานุสารี ( สว่าง ธมมโชโต ) พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เคยเสด็จโดยทางชลมารคพร้อมด้วยข้าราชบริพารเมื่อวันที่๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙ ) ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ๒๐ บาล พร้อมกับโปรดให้ถ่ายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับ พระธรรมานุสารีเจ้าอาวาสขณะนั้นด้วย วัดเทียนถวายถือว่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. ๑๘๘๕ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๑๙.๘๐ เมตร ยาว ๒๙ เมตร

             ในด้านการศึกษา ทางวัดได้เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐ นอกจากนี้ยังให้ทางราชการสร้างโรงเรียนประถมศึกษา   สถานีอนามัยและให้อุปการะตลอดมา

วัดได้ดำเนินการก่อสร้างและปฎิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัด ดังนี้

         อุโบสถกว้าง ๗.๘๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๐ ลักษณะทรง ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาบูรณะมาแล้วหลายครั้ง กุฎีสงฆ์ จำนวน ๑๔ หลัง หอสวดมนต์ ห้องสมุด ศาลาการเปรียญ วิหาร ศาลาท่าน้ำ ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน หอระฆัง หอปริยัติธรรม ศาลาอเนกประสงฆ์ กำแพงรอบวัดสร้างด้วยคอนกรีต
           ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดคือ พระประธานในอุโบสถ พุทธเจดีย์มณฑป สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุคือ เรือแหวด ๘ แจว เรือมาดและเก๋งประทุนเรือของเก่า

เจ้าอาวาสตั้งแต่สร้างวัดมาจนถึงปัจจุบัน

๑.พระสมุห์ยัง                                               (ตั้งแต่ไม่ทราบ – พ.ศ. ๒๔๓๕)

๒.พระธรรมานุสารี  (สว่าง ธมมโชโต )              (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๗๕)

๓.พระปทุมวรนายก (สอน  พุทธิสาโร)              (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ – ๒๕๗๔)

๔.พระธรรมนุสารี     (คำนึง ตุสสิโก)                 (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๗๔ – ๒๕๑๑)

๕.พระครูปทุมรัตนพิทักษ์  (สุวรรณ์ ฐานิสสโร)   (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๑ จนถึงปัจจุบัน)

 

 

พระธรรมานุสฺสารี (สว่าง ธมฺมโชโต)

------------------------------------------------------

ประวัติพระธรรมานุสารี ( สว่าง ธมฺมโต )

 ชาติภูมิ

    เกิดวันเสาร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๓๙๘ ในสกุลนายอ่อนเป็นบิดา นางทิมเป็นมารดา ที่ตำบลบ้านหลังวัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี เมื่ออายุควรแก่การศึกษา ได้ไปอยู่เล่าเรียนอักษรสมัยในสำนักพระปลัดปิ่น ( ได้ยินว่าท่านเป็นปลัดฐานานุกรมของพระราชาคณะวัดอรุณราชวราราม ) เจ้าอาวาสวัดบางกะดี ปากครองบางหลวงเชิงราก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นชาติภูมิของบิดา 

บรรพชา

 

ได้บวชเป็นสามเณรเล่าเรียนมูลกัจจายน์ ในสำนักพระปลัดปิ่น

อุปสมบท

 

    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้มาอุปสมบทที่วัดเทียนถวาย พระปลัดปิ่นเป็นอุปัชฌาย์พระสมุห์ยัง เจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย กับ อาจารย์วัดนั้นเป็นกรรมวาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วขึ้นไปอยู่วัดบางกะดีได้ ๓ พรรษา ลงมาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม อยู่ในสำนักของพระวินยานุกุลเถร ( ศรี ) วัดสระเกศ ได้เป็นสมุห์ของพราชคณะรูปนั้น ( สักกี่ปีทราบไม่ได้ ) เมื่อพระราชคณะรูปนั้นมรณภาพแล้วได้กลับขึ้นไปอยู่วัดบางกะดีอีกวาระหนึ่ง ครั้งถึงปีมะเส็ง พ.ศ ๒๔๒๔ ได้ลงมาอยู่สารพัดช่าง บางขุนพรหม กรุงเทพฯ เล่าเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักของนายแย้ม เปรียญบ้านข้างวัดนั้น ในระหว่างนี่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( นาค ) ยังเป็นเด็กอายุ ๑๐ ขวบ ได้มาอยู่ด้วย ครั้งถึงปีมะโรง พ.. ๒๔๓๕ที่วัดเทียนถวายว่างเจ้าอาวาสสัปรุษทายกอาราธนาจะให้ท่านไปปกครองวัด ท่านจึงนำสามเณรนาค เปรียญ ๔ ประโยค ไปมอบถวายสมเด็จพระวันรัต ( แดง ) วัดสุทัศน์ แล้วท่านจึงขึ้นไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

 สมณศักดิ์

     พ.. ๒๔๓๕ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวายและได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ในระหว่างปี พ.. ๒๕๕๐ พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงบันชาการคณะสงฆ์ในตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เสด็จออกตรวจการคณะในจังหวัด ปทุมธานี ทรงแวะตรวจที่วัดเทียนถวาย เจ้าคุณธรรมานุสารีมีโอกาสได้ต้อนรับเสด็จและเฝ้าคุ้นเคยมาแต่นั้น ตามปกติเจ้าคุณธรรมานุสารีมีอัธยาศัยสงบเสงี่ยมและมั่นคงต่อสัมมาปฏิบัติจึงเป็นเหตุให้พระองค์พอพระทัยและมีเมตตากรุณาเป็นลำดับมา พ..๒๔๕๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระครูศีลานุโลมคุณ ในตำแหน่งเจ้าคณะหมวดวัดเทียนถวาย พ.. ๒๔๖๑ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีและเลื่อนขึ้นเป็นพระครูธรรมานุสารีสีลสาราภิรักษ์ สังฆปาโมกข์

 มรณภาพ

       เจ้าคุณธรรมานุสารี ได้รับราชการเป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์เป็นลำดับมาราว ๒๐ ปีเศษ ครั้นถึง พ.. ๒๔๗๔ ก็เกิดโรคคันธมาลา ( ฝีที่คอ ) คณะศิษยานุศิษย์ได้พยายามหาหมอมารักษาเป็นลำดับ โรคนั้นหาได้ถอยไม่ พอถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ปีวอก พ.. ๒๔๗๕ เวลา ๑.๑๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพที่วัดเทียนถวาย

สิริรวมอายุได้ ๗๖ ปี ๑๑ เดือน ๒๓ วัน พรรษา ๕๔

 **********************************************************

พระปทุมวรนายก (สอน พุทฺธิสาโร)

 

ประวัติสังเขป ของ

เจ้าคุณหลวงพ่อ พระปทุมวรนายก พุธิสารเถระ

******************

ชาติภูมิ

 

     เจ้าคุณหลวงพ่อพระปทุมวรนายก นามเดิม สอน นามสกุล ตินตะโมระ เกิดที่บ้านใต้วัดสลักเหนือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.. ๒๔๒๔ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๔๓ บิดาชื่อ เอี่ยม มารดาชื่อ หนู

 การศึกษาเบื้องต้น

     เมื่อประมาณ พ.. ๒๔๓๓ อายุได้ ๙ ปี เข้าเรียนหนังสือไทยที่สำนักพระอธิการชื่นวัดสลักเหนือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จนอ่านออกเขียนได้ในสมัยนั้น แล้วบรรพชาสามเณรเรียนอักขรสมัยและอบรมระเบียบศีลธรรมควบกันไป เมื่ออายุ ๑๔ ปี จึงได้ลาเพศจากสามเณรไปประกอบอาชีพทำสวน ทำนา ที่ตระกูลได้มอบให้ จนถึงอายุครบ ๒๐ ปี

 อุปสมบท

      เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสลักเหนือ เมื่อ พ.. ๒๔๔๕  ตรงกับวันพุธ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๕ เวลาเช้า เจ้าอธิการบ๊อก วัดปากครองบางคูวัด อำเภอเมือง จังหวัดปทุม เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูธัญญเขตเขมากร ( ช้าง ) วัดเทียนถวาย ( ภายหลังได้ย้ายไปอยู่ที่วัดเขียนเขต ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัด ธัญบุรี ) เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูสิทธิเดชะ ( แสง ) วัดชนะสงคราม พระนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับนาม ฉายาว่า พุทฺธณาโณ ( ภายหลัง เจ้าพระคุณสมเด็จวันรัต ( เฮง เขมจารีเถระ ) วัดมหาธาตุ ได้กรุณาเปลี่ยนใหม่ว่า พุทฺธิสาโร ) เมื่ออุปสมบทแล้วได้มาอยู่วัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี จนตลอดชนมายุ

       เหตุที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต ได้เปลี่ยนนามฉายาใหม่ ในสมัยที่เจ้าคุณท่านดำรง สมณศักดิ์  เป็นพระพิมลธรรม เจ้าคณะมณฑลอยุธยา สมัยนั้นเจ้าคุณหลวงพ่อปทุมวรนายก ดำรงค์  สมณศักดิ์เป็นพระครุศีลานุโลมคุณ รองเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้ติดต่อสัมพันธ์กับเจ้าคุณสมเด็จเขมจารมหาเถระอย่างสนิทสนมฐานผู้ใต้บังคับบัญชา บางครั้งก็ได้ติดตามร่วมไปในงานตรวจการคณะสงฆ์มณฑลอยุธยาด้วย จึงเป็นที่รักใคร่สนิทสนมตั้งแต่นั้นมา ประกอบด้วยพระคุณท่านทั้งสองเป็นสหชาติ  เกิดร่วมปีเดียวกันและได้รับพรพีเศษจากเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ  เรียกคำแทนว่า “สหาย” และอนุญาตให้เข้าหาถึงห้องพักได้ทุกโอกาสโดยไม่จำกัดเวลา  โดยเหตุที่ท่านมีการศึกษาดีและมีการประพฤติปฏิบัติดี นับเป็นสาระของชีวิตและหมู่คณะได้เป็นอย่างดี จึงได้รับเปลี่ยนฉายาให้ต้องตามความรู้และความประพฤติปฏิบัติ

 บาลี

       เบื้องต้นได้ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายนะ  อันว่าด้วยบาลีไวยากรณ์อย่างเก่าแล้วเรียนคัมภีร์พระธัมมปทัฏฐกถาและคัมภีร์มังคลัตถทีปนีตามลำดับจนสามารถแปลภาษาบาลีได้  ในสำนักท่านพระครูศีลานุโลมคุณ ( สว่าง ) วัดเทียนถวาย ซึ่งภายหลังท่านได้ดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมานุสารี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี

       พ.. ๒๔๕๐     ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจารย์และเป็นครูช่วยบริหารงานทั้งฝ่ายปริยัติสอนคัมภีร์มูลกัจจายนะ   ฯลฯ   และฝ่ายบริหาร

      พ..  ๒๔๕๖     ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมของพระครูศีลานโลมคุณ

     ..  ๒๔๕๗     เป็นครูสอนปริยัติแผนใหม่ แผนธรรมวินัย ซึ่งเริ่มตั้งขึ้นครั้งแรกในส่วนภูมิภาค

      พ.. ๒๔๖๐      ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัด ฐานานุกรมของพระธรรมานุสารี

      พ.. ๒๔๖๔      ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่และช่วยเหลือบริหารงานพระศาสนา ในหน้าที่ของเจ้าคณะเป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามมณฑลอยุธยา

      พ.. ๒๔๗๐      ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูศีลานุโลมคุณ ตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นกรรมการศึกษาอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนในจังหวัดปทุมธานี

     พ.. ๒๔๗๖       ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูปทุมวรนายก วินัยสาธกธรรมวาที สังฆวาหะ ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี

     พ.. ๒๔๗๘       ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่พระปทุมวรนายก วินัยสาธกธรรมวาที สังฆปาโมกข์

ชีวิตอวสาน

        เมื่อ  พ.๒๔๘๒   เริ่มอาพาธเกี่ยวกับประสาท ครั้งแรกท่านว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้นำแพทย์สุขศาลามาตรวจ แพทย์บอกว่าเป็นโรคเส้นประสาทเพราะใช้สองมาก เมื่อทำการรักษาพยาบาลกันเต็มความสามารถแล้วอาการโรคก็หายแต่อาการหูรู้สึกอื้อขึ้น

       เมื่อ พ.. ๒๔๙๓   โรคประสาทกลับกำเริบขึ้น ตอนนี้คณะนางพยาบาลศิริราชได้พาหมอสนองมาตรวจและถวายยารักษาอาการแล้วอาการก็บรรเทาลงแต่ประสาทหูตึงมากขึ้นฟังอะไรไม่ได้ยิน

      พ.. ๒๔๙๔ อาการโรคกำเริบขึ้นอีก ได้มาอยู่รักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ครั้งละนานๆเป็นเวลาถึง ๓ ครั้ง จากนั้นก็ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ ๔ ครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อปลายปี พ.. ๒๕๐๓ ได้เกิดอาพาธหนัก สลบไปเป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ทางคณะศิษย์วัดเทียนถวายได้แจ้งมายังโรงพยาบาลสงฆ์ให้ส่งคณะแพทย์และรถไปรับมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์คระแพทย์ได้ประชุมกันรักษาจนเต็มความสามารถ อาการมีแต่ทรงกับทรุด มีอาการอ่อนเพลียมากขึ้นโดยลำดับ จนถึง วันที่๖ เมษายน พ.. ๒๕๐๔ เวลา ๑๗.๐๔  น. ท่านได้ถึงมรณภาพด้วยอาการอักสงบ ที่ตึกพิเศษโรงพยาบาลสงฆ์ คำนวณ อายุได้ ๘๑ ปี

*************************

ชีวประวัติพระธรรมานุสารี ( คำนึง บุณยพรรค )

   เกิดวันที่  ๑๕  พฤศจิกายน  พ..๒๔๕๓  ตรงกับจันทรคตินิยม วัน ๗ ฯ ๑๒  ค่ำ ปีจอเวลา  ๗.๓๐ น. ที่บ้านคลองรังสิต หมู่ที่  ๒  ตำบลบ้านใหม่  อำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรสิบเอก ฟัก – นางชม  บุณยพรรค

วัยศึกษา

   เมื่อเยาว์ ได้ศึกษาภาษาไทย จบชั้นประถมบริบูรณ์แล้ว ได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนเซ็นปีเตอร์เอส.พี.จี. อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร สอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ ๕  จากนั้นได้เข้าศึกษาจากโรงเรียนช่างกล จนมีความรู้ในวิชาเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ได้ประกอบอาชีพอยู่ในกรุงเทพ ฯ เป็นเวลาหลายปี

อุปสมบท

     พ.. ๒๔๗๓ อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบท ณ พันธสีมาวัดเทียนถวาย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง ( สมัยนั้นยังเป็นอำเภอบางกะดี  ) จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.. ๒๔๗๓ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย เวลา ๑๔.๓๐ น. มีพระธรรมานุสารี ( สว่าง ธมฺมโชโต ) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี วัดเทียนถวาย เป็นพระอุปัชฌายะ พระปทุมวรนายก ( สมัยนั้นยังเป็นพระครูสีลานูโลมคุณ ) รองเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี วัดเทียนถวาย เป็นพระกรรมวาจารย์ พระสมุห์โป๋ วัดเทียนถวาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้นามฉายาว่า ตุสฺสิโก

การศึกษา

     เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ในปีนั้น ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ในแผนกธรรม ได้เข้าสอบไล่ประโยคธรรมสนามหลวง ชั้นตรีได้ใน พ.. ๒๔๗๓ และสอบไล่ได้นักธรรมชั้นโทและชั้นเอกในปีต่อๆมา ต่อจากนั้นได้ศึกษาภาษาบาลี จนจบหลักสูตรประโยค ป..๓ แต่ไม่ได้สอบ

 

หน้าที่และงานพิเศษ

.. ๒๔๗๕   เป็นครูนักธรรมประจำสำนักเรียนวัดเทียนถวาย

.. ๒๔๘๖   เป็นเลขานุการแผนกธรรมสนามหลวงประจำจังหวัดปทุมธานี

.. ๒๔๙๘   ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวงเป็นตัวแทนของจังหวัดมาเป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวงที่ตำหนักวัดมหาธาตุสมัยพระธรรมโกศาจารย์ เป็นแม่กองธรรม ฯ ทุกๆ ปี

.. ๒๔๙๐ – ๒๔๙๔  ไปประชุมเจ้าคณะทั่วจังหวัดทั่วประเทศ ณ วัดมหาธาตุ

ตำแหน่งพระสังฆาธิการ ( พระคณาธิการ )

.. ๒๔๘๐   เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านใหม่

.. ๒๔๘๗   เป็นเจ้าคณะอำเภอคลองหลวง

.. ๒๔๘๗   เป็นสาธารณูปการจังหวัดปทุมธานี

.. ๒๔๘๗   เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดปทุมธานี

.. ๒๕๐๔   รักษาการเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

.. ๒๕๐๔   เป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

.. ๒๕๐๔   รักษาการเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี

.. ๒๕๐๗   พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี

 

สมณศักดิ์

 

.. ๒๔๗๖   เป็นพระวินัยธร ฐานานุกรมของพระปทุมวรนายก

.. ๒๔๘๔   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูธรรมานุสสร

.. ๒๔๙๗   ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมมานุสารี

 

อวสานชีวิต

 

        พระธรรมานุสารี ถึงแม้จะได้บำเพ็ญความดีในทางพระพุทธศาสนามาเป็นเวลาช้านาน ประกอบแต่กรรมดี ปฏิบัติศาสนกิจไม่บกพร่อง จนได้รับยกย่องจากคณะสงฆ์ให้มีตำแหน่งหน้าที่อย่างสูงส่งแล้วก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังหนีเคราะห์กรรมไปไม่พ้น ต้องประสบเคราะห์กรรมด้วยอุบัติเหตุในวันเดียวกันถึง ๒ ครั้ง ในตอนเช้าถูสุนัขบ้ากัดที่วัดเทียนถวาย ต้องไปหาแพทย์ที่โรงพยาบาล จังหวัดปทุมธานี ต้องฉีดยารักษา แล้วมิหนำซ้ำกลับมากลางทางรถยนต์เกิดอุบัติเหตุชนกันจนถึงแก่มรณภาพในที่นั้นเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.. ๒๕๑๑ เวลาประมาณ ๑๐.๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๕๘ ปี

************************************************

พระครูปทุมรัตนพิทักษ์ (หลวงพ่อสุวรรณ ฐานิสฺสโร)

เจ้าคณะอำเภอเมืองปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย (ปัจจุบัน)

หลวงพ่อสุวรรณ เป็นศิษย์หลวงปู่เหมือน วัดนาวง (โรงหีบ)

หลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลไว้ไม่มากนัก แต่วัตถุมงคลของท่าน ลูกศิษย์ล้วนหวงแหน และนับวันจะหายาก

เหรียญรุ่นแรกสร้างปี 2529 เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์ ลูกศิษย์บูชาขึ้นคอได้ประสบการณ์ปืนยิงไม่ออกมาแล้ว เป็นที่กล่าวขาน ลูกศิษย์ลูหาล้วนทราบดี ..

-----------------------------------------------------------------------------

ประวัติพระครูปทุมรัตนพิทักษ์ ( สุวรรณ์  ฐานิสฺสโร )

    พระครูปทุมรัตนพิทักษ์ ฉายา ฐานิสฺสโร ( ปี พ.. ๒๕๔๑ ) อายุ ๕๙ ปี ๓๙ พรรษา น.. เอกดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย ( เป็นรูปที่ ๕ ต่อจากพระธรรมานุสารี คำนึง ตุสฺสิโก ) ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีแล้วเจ้าคณะตำบลบางกะดี เขต ๒ ( เจ้าคณะตำบลบ้านใหม่เดิม )

ฐานะเดิม  ชื่อสุวรรณ์ นามสกุล แย้มใย เกิดเมื่อวัน ๔ ฯ ๔ ค่ำ ปีเถาะ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.. ๒๔๘๒ นามบิดามารดา นายสวัสดิ์ นางทองใบ แย้มใย บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ ๙ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

บรรพชาอุปสมบท   ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวัน ๔ฯ๕ ค่ำ ปีวอก วันที่ ๑๑ เมษายน พ.. ๒๕๐๐ ที่วัดนาวง ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มีพระธรรมานุสารี ( คำนึง ตุสฺสิโก ) วัดเทียนถวาย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดประทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์

            ได้อุปบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวัน  ๖ฯ๕ ค่ำ ปีชวด วันที่ ๑๕ เมษายน พ.. ๒๕๐๐๓ ที่วัดนาวง มีพระธรรมมานุสารี ( คำนึง ตุสฺสิโก ) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูพิพัฒน์นนทเขต ( พระอธิการทุ่ง ปทุมฺวโร ) วัดโพธิ์ทองบน จังหวัดนนทบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมีพระปลัดเอิบ สีลวฑฺฒโน ( ได้ลาสิกขาบทแล้ว ) วันเทียนถวาย ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

            และวันที่ ๔  พฤษภาคม พ.. ๒๕๐๕ ได้ย้ายจากวัดนาวงไปจำพรรษาที่วัดเทียนถวาย จนถึงปีปัจจุบัน

วิทยฐานะ

         วิชาสามัญ       .. ๒๔๙๖  สอบได้ขั้นประถมศึกษาปีที่  ๔  จากโรงเรียนวัดนาวง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

          วิชาธรรมะ      พ.. ๒๕๐๐  สอบได้นักธรรมชั้นตรี

                               พ.. ๒๕๐๒  สอบได้นักธรรมชั้นโท

                              พ.. ๒๕๐๔ สอบได้นักธรรมชั้นเอก

   ตำแหน่งหน้าที่                        

              งานปกครอง   พ.. ๒๕๑๐  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจารย์  ( คู่สวด )  

 

                               พ.. ๒๕๑๑  ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

                               พ.. ๒๕๑๑  ได้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะอำเภอคลองหลวงและรักษาการเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

                               พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย

                               พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองปทุมธานี

                               พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุชณาย์

                               พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้เปลี่ยนจากเจ้าคณะตำบลบ้านใหม่ เป็นเจ้าคณะ ตำบลบางกะดีเขต ๒

                                              พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระวินยาธิการประจำอำเภอเมืองประทุมธานี           

 

งานการศึกษา                   

                                พ.ศ. ๒๕๐๕  ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม วัดเทียนถวาย

                                พ.ศ. ๒๕๓๒  ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม

                                 พ.ศ. ๒๕๑๔  เป็นผู้อุปการะโรงเรียนวัดเทียนถวาย

           - เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลบ้านใหม่ (อ.ป.ต.)

           - ส่งเสริมการศึกษาพระภิกษุสามเณรโดยได้ส่งพระภิกษุสามเณร โดยได้ส่งพระภิกษุจำนวนหนึ่งไปศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่สำนักวัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี (ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ๑รูปและเปรียญธรรม ๕ ประโยค ๑ รูป) 

งานเผยแผ่                         

     พ.ศ. ๒๕๓๖  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตประจำอำเภอเมืองปทุมธานี

งานสาธารณูปการ              

      พ.ศ. ๒๕๑๔  ได้ควบคุมดูแลสนับสนุนและร่วมสร้างฌาปนสถาน (เมรุ) ก่อสร้าง ๓๗๕,๐๐๐ บาทและศาลาบำเพ็ญกุศลหลังใหญ่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

       พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้ควบคุมดูแลสนับสนุนและร่วมดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลัง ใหม่จนเสร็จสมบูรณ์(จัดงานฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมาเมื่อ ๑๖-๒๔ มกราคม ๒๕๔๒) สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๑๐,๐๖๑,๓๙๓ บาท(สินล้านหกหมื่นหนึ่งพันสามร้อยเก้าสิบสามบาทถ้วน) นอกจากนี้  ยังได้เป็นผู้นำและสนับสนุนในการก่อสร้างซ่อมแซมและ ปรับปรุงเสนาสนะตลอดจนโบราณสถานต่างๆภายในวัดขึ้นมาใหม่เช่น ซุ้มประตู , ศาลาบำเพ็ญกุศลรายรอบฌาปนสถาน , กุฏิสงฆ์  (เป็นอาคาร    คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ๖ ห้อง รวม ๖ หลัง ๓๖ ห้อง) กุฏิสงฆ์ เรือนไม้สักทรงไทยโบราณ ๗ หลัง ,หอสวดมนต์ ๑ หลัง ,หอฉัน ๑ หลัง  โรงเรียนปริยัติธรรม ๑ หลัง ,หอบาลี      วิทยาคาร ๑ หลัง , ศาลาท่าน้ำและ อื่นๆอีกหลายการ

สมณศักดิ์                          

      พ.ศ. ๒๕๐๗  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระใบฎีกาในฐานานุกรมของพระธรรมานุสารี

      พ.ศ. ๒๕๐๙   ได้รับแต่งตั้งเป้นพระสมุห์ ในฐานานุกรมของพระธรรมานุสารี และเป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอคลองหลวง

      พ.ศ. ๒๕๒๐  ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ “พระครูปทุมรัตนพิทักษ์”

      พ.ศ.๒๕๒๘  ได้เลื่อนสมนศักดิ์เป้นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท นามเดิม ที่      “พระครูปทุมรัตนพิทักษ์” จนถึงปีปัจจุบัน (๒๕๔๒)

และสมณศักดิ์ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๐) หลวงพ่อดำรงค์สมณศํกดิ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองปทุมธานี

 

 

*****************************************************************************

ภาพวัตถุมงคล ของวัดเทียนถวานในหนังสือเล่มนี้

 

 




ทำเนียบพระวัดเทียนถวาย จ.ปทุมธานี

วัตถุมงคลหลวงปู่หว่าง.. พระธรรมานุสฺสารี (สว่าง ธมฺมโชโต)
วัตถุมงคลหลวงปู่สอน วัดเทียนถวาย
ชีวประวัติพระธรรมานุสารี ( คำนึง บุณยพรรค )
วัตถุมงคลพระครูปทุมรัตนพิทักษ์ (หลวงพ่อสุวรรณ ฐานิสฺสโร)
วัตถุมงคลพระปลัดหลวงปู่ทุ่ง ปทุโม วัดเทียนถวาย



Copyright © 2012 www.bt-pra.com