ReadyPlanet.com
dot dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
เปิดจองพระเครื่องสร้างใหม่
ห้องคิวจอง
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot

dot
มุมอมยิ้ม


แบนเนอร์ตัวอย่าง
Facebook bt-pra
บัวทองพระเครื่อง
ข่าวออนไลน์
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล


พระสมเด็จ หลวงปู่เส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี สมเด็จยุคต้น ปี 2512 ข้างยันต์ใหญ่หลังรูปเหมือน

RRL4499-111-58120026014

พระสมเด็จ หลวงปู่เส็ง วัดบางนา  จ.ปทุมธานี

สมเด็จยุคต้น ปี 2512 ข้างยันต์ใหญ่หลังรูปเหมือน

ฝังตะกรุดเงิน เนื้อสวยจัด น่าบูชามากๆครับ

เปิดบูชาที่ 890 บาท

จัดส่ง EMS ทั่วไทย

พระสมเด็จข้างยันต์ หลังรูปเหมือน ตะกรุดเงิน ยุคต้น หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี เทพเจ้าชาวรามัญ วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ปี 2512 พิมพ์หายาก

หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี เทพเจ้าชาวรามัญ วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ดินแดนย่านอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ในอดีตเป็นแหล่งพำนักพักพิงของชาวรามัญ ที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย เมื่อครั้งเกิดศึกสงครามรบพุ่งกันระหว่างไทยกับพม่า ทำให้ชาวรามัญส่วนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพม่าต้องหลบลี้หนีภัยสงครามเข้ามาในประเทศไทย มาลงหลักปักฐานอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะย่านอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันยังมีร่องรอยโบราณวัตถุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็น ฝีมือของชาวรามัญหลงเหลือให้ได้ศึกษากันหลายแห่ง
วัดบางนา ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ร่วม 300 ปีมาแล้ว เป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมาใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจตามประเพณี และเป็นสถานศึกษาแก่บรรดาลูกหลานของชาวรามัญในย่านนั้น ชาวรามัญอพยพจากเมืองหงสาวดีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย มาตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่ตามสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้นเมื่ออยู่ดีมีสุขทำมาหากินอุดมสมบูรณ์ดีแล้ว มักจะสร้างวัดขึ้นมาเพื่อให้ลูกหลานได้บวชเรียนศึกษาพระธรรมวินัย ในการสร้าวัดของชาวรามัญนั้น เมื่อสร้างเสร็จจะทำเสาหงส์ไว้หน้าวัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบกันว่าวัดนั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมา
วัดบางนาเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดบางนา ต่อมาย้ายร่นลงไปอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา ประวัติความเป็นมาเดิมของวัดบางนา จากหลักฐานที่ได้พบทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2310 และจากการคาดการณ์ตามอายุของสิ่งต่างๆ ตลอดจนอายุการก่อสร้างอุโบสถ มีหลักฐานยืนยันการสร้างอุโบสถมาแล้วถึง 4 หลังด้วยกัน กล่าวคือ พอโบสถ์หลังเก่าพังลงก็ทุบทิ้ง แล้วสร้างขึ้นมาใหม่เป็นอย่างนี้ถึง 4 หลัง อายุกาลของวัดจึงน่าจะอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และจากลำดับสมภารปกครองวัดเท่าที่ทราบจากการบอกเล่าสืบต่อกันมา สมภารองค์แรกของวัดบางนาคือ หลวงพ่อแดง ต่อจากหลวงพ่อแดงก็คือ หลวงปู่แร่ว, หลวงปู่ทัด ลาหุโล, หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี หรือพระครูธรรมสุนทร, หลวงพ่อแสวง หรือท่านพระครูอนุกูลศาสนกิจ จนกระทั่งมาถึงพระอธิการยงยุทธ ยโสธโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ในอดีตสมัยก่อนย่านอำเภอสามโคก วัดบางนามีชื่อเสียงมากมีคนไปทำบุญที่วัดมากที่สุด ก็เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่มีพระไปบวชศึกษาเล่าเรียนมาก พระที่วัดต่างก็ถือปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านจึงศรัทธาเลื่อมใสเข้าไปทำบุญกันมาก จนกระทั่งมาถึงยุคของหลวงปู่เส็ง ซึ่งถือว่าเป็นพระที่ได้รับสมณศักดิ์รูปแรกของวัดบางนาจากทางคณะสงฆ์ และท่านเป็นผู้เริ่มทำพระเครื่องวัตถุมงคลของวัดบางนาจนมีผู้รู้จักนิยมไปทั่ว ซึ่งก่อนหน้าหลวงปู่เส็งไม่มีสมภารองค์ใดทำพระเครื่องมาก่อนเลย
ชาติภูมิหลวงปู่เส็งนั้น ท่านเป็นคนพื้นเพละแวกวัดบางนานั่นเอง บ้านท่านอยู่ทางใต้วัดติดคลองบางนา โยมพ่อชื่อจู เป็นชาวจีนล่องเรือสำเภาจากเมืองจีนมาอยู่ที่สามโคกใช้สกุล “แซ่บุญเซ็ง” โยมแม่ชื่อเข็มเป็นชาวรามัญ
สมัยก่อนชาวบ้านย่านวัดบางนาต่างก็มีอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ จนได้รับขนานนามหมู่บ้านว่า “บางนา” อาชีพรองลงมาของชาวรามัญสมัยนั้นก็คือการทำอิฐ ทำตาล และค้าขาย ซึ่งทางบ้านของหลวงปู่เส็งทำการค้าขายของชำเล็กๆ น้อยๆ ในหมู่บ้านและส่วนหนึ่งก็ทำนา สำหรับประวัติส่วนตัวของหลวงปู่เส็งท่านไม่เคยเล่าให้ใครฟัง ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2444 มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน พี่น้องของท่านเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษด้วยกันหมด เหลือเพียงท่านเท่านั้น
ครั้นเมื่ออายุครบบวชโยมพ่อและโยม แม่ก็ให้ท่านบวชที่วัดบางนา เมื่อปี พ.ศ.2465 โดย มีท่านเจ้าคุณรามัญมุนี หรือพระครูนันทมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ หรือหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ เป็นพระ-กรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ทัด ลาหุโล เจ้าอาวาสวัดบางนา มีศักดิ์เป็นน้าชายของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทฺรังสี” ภายหลังที่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว หลวงปู่เส็งก็ศึกษาเล่าเรียนอักขระเลขยันต์จากพระอาจารย์ต่างๆ และมีการเรียนภาษาขอมและภาษารามัญ ท่านก็ศึกษาเล่าเรียนทั้งสองภาษาจนแตกฉาน นอกจากนี้ท่านยังไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน ที่วัดโบสถ์อีกด้วย หลวงปู่เส็งท่านมีปฏิปทาในการใฝ่หาวิชาความรู้มาก ใครแนะนำสั่งสอนท่านก็จดจำไว้เป็นอย่างดี หลวงปู่ท่านเชี่ยวชาญด้านภาษาขอมเป็นพิเศษ เรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ ท่านเก่งมากจนกระทั่งปี พ.ศ.2486 หลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนามรณภาพลง หลวงปู่เส็งก็ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการณ์เจ้าอาวาสไปก่อน ในปี พ.ศ.2487 หลวงปู่สอบนักธรรมชั้นเอกได้ และปี พ.ศ.2489 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนาอย่างเป็นทางการ หลวงปู่ให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันท่านก็บูรณะปฏิสังขรณ์วัดจนรุ่งเรือง รับงานการสร้างโบสถ์ต่อจากหลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสองค์ก่อนที่ทำคั่งค้างไว้จนสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี
หลวงปู่เส็ง เป็นพระปฏิบัติท่านมักจะออกธุดงค์ไปปริวาสกรรมทุกปีมิได้ขาด มีปฏิปทาในทางสมถะหมั่นบริกรรมภาวนาเจริญพระคาถาวิชาต่างๆ เล่ากันว่าเวลาว่างจากงานที่ต้องกระทำ ท่านจะนั่งนับลูกประคำที่คล้องคออยู่ บริกรรมพระคาถาตลอดเวลา หลวงปู่เป็นคนพูดน้อยไม่ค่อยพูดว่ากล่าวผู้ใด หลวงปู่เส็งเป็นสมภารปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งอายุ 65 ปี ท่านจึงเริ่มทำวัตถุมงคลการทำวัตถุมงคล ครั้งแรกนั้นท่านสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของวัดบางนา ในปี พ.ศ.2510 หลังจากสร้างพระผงสมเด็จ 3 ชั้นออก มาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาแล้ว ในปีนั้นเองหลวงปู่ก็ทำเหรียญรูปอาร์มหรือใบเสมาคว่ำเป็นรุ่นแรกออกมาอีก และนับแต่ปี พ.ศ.2510 เป็นต้นมาหลวงปู่เส็งก็สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ออกมามากมายแทบจะนับรุ่นกันไม่ได้เลยทีเดียว หลวงปู่สร้างวัตถุมงคลทุกปีๆ หนึ่งสร้าง 2-3 แบบ จนกระทั่งท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2530 รวมระยะเวลาการทำวัตถุของหลวงปู่เส็ง 20 ปี และวัตถุมงคลของหลวงปู่ทุกรุ่นทุกแบบก็มีผู้เลื่อมใสหามาพกติดตัว และบูชากันมากมาย วัตถุมงคลของหลวงปู่เส็งนั้น ออกไปในทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยมและการค้าขายดีเยี่ยม วัตถุมงคลของหลวงปู่เส็ง รุ่นนิยมเท่าที่พอลำดับความได้มีดังนี้
พระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกจัดสร้างปี 2510 ผงที่นำมาสร้างเป็นผงอิทธิเจ ซึ่งจะโน้มไปในทางเมตตามหานิยมและค้าขาย พระผงสมเด็จ 3 ชั้นรุ่นแรกด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปพระประธานนั่งสมาธิ มีซุ้มครอบแก้ว ด้านหลังเป็นลายมือเขียนว่า “พระครูเส็ง” บางองค์เขียนว่า “เส็ง” และบางองค์ ก็เขียนว่า “พระครูเส็ง จันทฺรังสี” แล้วแต่ว่าหลวงปู่จะเขียนอะไรคำไหน แต่ส่วนใหญ่จะทำเป็นแบบพิมพ์เป็นบล็อค ใช้กดลงไปบนหลังพระเวลากดพิมพ์
เนื้อพระมีทั้งเนื้อน้ำมัน ลักษณะพระจะออกแกร่งมัน กับสูตรผสมเนื้อกล้วยพิมพ์ออกมามีทั้งหมด 5 สี คือ สีดำ เหลือง เขียว แดง และ ขาว พอทำเสร็จหลวงปู่ก็ปลุกเสกเดี่ยวแล้วออกแจกจ่ายแก่ญาติโยมที่ไปหาท่าน บางรายนำพระพกติดตัวไปประสบอุบัติเหตุเกิดแคล้วคลาดอย่างเหลือเชื่อ กิตติศัพท์พกพระหลวงปู่เส็งแล้วแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุมีบ่อยครั้งมากจนกระทั่งเลื่องลือไปทั่ว พุทธคุณพระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกของหลวงปู่เส็ง เรื่องแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุเป็นเลิศ หลังทำพระผงรุ่นแรกทิ้งช่วงปลายปี ท่านก็ทำเหรียญรุ่นแรกออกมาเป็นเหรียญใบเสมาคว่ำมีทั้งเนื้อกะไหล่ทอง เงินและทองแดง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์มีอักษรเขียนว่า “อาจารย์เส็ง” ด้านหลังเป็นยันต์ ใต้ยันต์มีอักษรระบุชื่อวัดบางนา พ.ศ.2510 ปีที่จัดสร้าง และพระผงที่ทำออกมานั้นส่วนใหญ่จะบรรจุตะกรุดสาริกาดอกเล็กๆ ไว้ที่ฐานด้วย เพื่อเสริมพุทธคุณ

การทำพระเครื่องของหลวงปู่เส็ง จนถึงปี 2512 หลวงปู่จะเอาพระเครื่อง ที่ทำออกมาไปปลุกเสกเดี่ยวในอุโบสถ ถ้าเป็นเหรียญ ท่านจะทำพิธีพุทธาภิเษกนิมนต์พระระดับเจ้าอาวาสละแวกวัดบางนามาเจริญพุทธมนต์ด้วย หลังจากปี 2512 การทำวัตถุมงคลหลวงปู่จะจัดพิธีพุทธาภิเษกในอุโบสถตลอด พระผงรุ่นที่โด่งดังมากก็คือ รุ่นขี่หมู ซึ่งรุ่นนี้มีลูกศิษย์ของหลวงปู่เป็นคนจัดสร้างขึ้นมานำไปให้หลวงปู่ทำพิธีพุทธภิเษก แล้วก็มอบพระให้หลวงปู่ไว้จำนวนหนึ่ง บรรดานักเล่น พระนิยมกันมาก
สำหรับวัตถุมงคลรูปแบบต่างๆ นั้น ครั้งแรกหลวงปู่จัดสร้างหมูทองแดงในปี 2522 สาเหตุ การจัดทำหมูทองแดงของหลวงปู่เส็งนั้นสืบเนื่องมาจากในตำนานกล่าวกันว่า หมูทองแดงตามป่าเขาที่เป็นหมูเขี้ยวตันนั้นปืนยิงไม่เข้า หลวงปู่ก็เลยคิดทำวัตถุมงคลเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตันขึ้นมา เล่ากันว่าระหว่างที่หลวงปู่ปลุกเสกหมูทองแดงร่วมกับพระที่นิมนต์มาเจริญพุทธมนต์อยู่ในโบสถ์นั้น มีชาวบ้านเห็นหมูวิ่งเข้าไปในโบสถ์ขณะที่พระสงฆ์กำลังปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่ทั้งๆ ที่รอบโบสถ์ด้านนอกปิดกั้นอย่างดีไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนสมาธิ ขณะที่พระสงฆ์กำลังเจริญพระพุทธมนต์และบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีคนที่พบเห็นเข้าไปบอกหลวงปู่ ท่านก็เฉยๆ แถมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ท่านไม่ได้พูดอะไรแต่รับฟังเอาไว้
ครั้นเมื่อทำหมูทองแดงออกมาแจกกันเป็นที่ฮือฮาพอสมควร หมูทองแดงที่สร้างนั้นเป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ มีหมูทองแดงตัวใหญ่และเล็ก ข้างลำตัวซ้ายมีอักษรเขียนว่า “วัดบางนา ปทุมธานี 2522” ข้างลำตัวด้านขวาเป็นอักขระขอมมียันต์ที่โคนขาทั้ง 4 ลักษณะเป็นหมูป่าเขี้ยวตัน และในปี 2524 หลวงปู่เส็งได้จัดสร้าง ทำหมู 7 หัวขึ้นมา เป็นลักษณะหมูป่าเขี้ยวตัน คู้ขาหมอบที่เรียกว่า 7หัวนั้น หมายถึงหัวของปลัดขิกที่ทำไว้ตามลำตัวมี 7 แห่ง คือที่หัว หาง ที่เพศ และที่ปลายเท้าทั้งสี่ข้าง เป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ ข้างลำตัวด้านซ้ายระบุปี พ.ศ.ที่จัดสร้างคือปี 2524 นอกจากนี้หลวงปู่เส็งได้ทำหมูจัมโบ้ ขนาดใหญ่ออกมาอีก 1 รุ่น หมูทองแดงรุ่นแรกทำออกมาแค่ 2,500 ตัวเท่านั้น พุทธคุณไปในทางแคล้วคลาดและค้าขาย
หลังจากทำหมูทองแดงออกมาหลวงปู่ก็จัดทำครุฑทองแดง ซึ่งครุฑเป็นสัตว์ที่มีอำนาจจัดทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก 10 รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า “หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี 2522” สลับกับอักขระขอม ประสบการณ์มีผู้นำติดตัวไปแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถและทางเรือ อีกทั้งยังป้องกันภัย จากงูเงี้ยวเขี้ยวขอดีนัก ต่อมาหลวงปู่จัดสร้างรูปเหมือนหนุมาน เหตุผลที่จัดทำนั้นท่านถือว่าหนุมานเป็นลิงประจำปีวอกและด้วยหนุมานเองก็เป็นศิษย์ของพระนารายณ์ มีอานุภาพฤทธิ์เดชมากมาย ที่จัดทำไว้มีเนื้อกะไหล่เงินและทองแดง ไม่ระบุปีจัดสร้าง จาก หมู ครุฑ หนุมาน ต่อมาท่านก็สร้างพญาเต่าเลือนเนื้อทองแดงผสมโลหะ แล้วจัดสร้างหงส์ทอง หงส์เงิน อีก 1 ชุด เนื้อกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน ทำเพื่อเป็นที่ระลึกว่าวัดบางนานั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมา

นอกจากวัตถุมงคลรูปแปลกๆ แล้ว หลวงปู่ยังสร้างพระกริ่งรูปเหมือนท่าน มีทั้งแบบหลังตรงและหลังค่อม เนื้อทองแดงผสม สร้างพระปิดตาเนื้อทองเหลืองผสม สร้างเหรียญรูปไข่ รุ่นขี่วัวเนื้อทองแดงผสม สร้างเหรียญจอบรูปหลวงปู่มีทั้งจอบเล็กและจอบใหญ่ สร้างเหรียญหยดน้ำเนื้อทองแดงผสม สร้างรูปหล่อเนื้อผงปิดทอง ที่กล่าวมานี้เป็นวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆ ที่หลวงปู่สร้างขึ้นมา ส่วนรุ่นใหม่ๆ ก็มีหลายสิบแบบ มีทั้งนางกวักพระผงพิมพ์สมเด็จ พระผงปิดตา เรียกว่าการจัดทำวัตถุมงคลของหลวงปู่เส็งนั้นมากมายจริงๆ ถ้าหากวัตถุ มงคลใดไม่ระบุ พ.ศ. เอาไว้ แทบจะไม่ทราบกันเลยว่าหลวงปู่จัดสร้างในพ.ศ. อะไร เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้และก็ทำออกมามากแบบ สำหรับเงินรายได้ที่ มีผู้นำมาบริจาค หรือเช่าวัตถุมงคลนั้น หลวงปู่นำเงินไปสร้างวัดวังหิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งท่านก็ทำนุบำรุงหมู่กุฏิเสนาสนะวัดบางนาที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น

ขอบคุณข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจากท่าน..ศิลป์เจริญพร




16.พระเครื่องเมืองปทุมธานี

เหรียญหลวงปู่ช้าง วัดเขียนเขต ปทุมธานี เนื้ออัลปาก้า ปี 2503
เหรียญหลวงปู่โหมด วัดดาวดึงษ์ (บน) จ.ปทุมธานี รุ่นที่ระลึกฝังลูกนิมิตร ปี 2504 เนื้อทองแดง
เหรียญหลวงปู่โหมด วัดดาวดึงษ์ (บน) จ.ปทุมธานี รุ่นที่ระลึกฝังลูกนิมิตร ปี 2504 เนื้อทองแดง
พระพิฆเนศเนื้อผง ฝังตะกรุดเงิน
พระพิฆเนศเนื้อผง ฝังตะกรุดเงิน
พระผงพระพุทธชินราช หลังยันต์ หลวงตาพัน วัดสุวรรณ
พระสมเด็จ ลพ.วงศ์ วัดมะขาม ปทุมธานี พิมพ์กรอบกระจก
พระสมเด็จคะแนน ลป.เทียน วัดโบสถ์ จ.ปทุมธานี
เหรียญหลวงปู่โหมด วัดดาวดึงษ์ (บน) จ.ปทุมธานี รุ่นที่ระลึกฝังลูกนิมิตร ปี 2504 เนื้อเงิน
เหรียญหลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี รุ่นฉลองอายุ 5 รอบ 60 ปี เนื้อนวโลหะปี 2517
เหรียญหลวงพ่อทองพูน วัดแสงสรรค์ จ.ปทุมธานี ที่ระลึกฉลองสมณศักดิ์ เนื้อทองแดงผิวไฟ ปี ๒๕๑๘
เหรียญหลวงปู่เหมือน วัดนาวง (โรงหีบ) เนื้อทองงแดง ปี 2483 พ.ขีด
เหรียญหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย รุ่นเทพส่องแสง ชนะภัย ชนะมาร ชนะศัตรู
พระสามนางพญาหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย เนื้อผง ผสมมวลสารหอยพันปี สทร.
พระกริ่งหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย เนื้อผง รุ่นสร้างโบสถ์ ปี 2540
เหรียญหล่อหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย รุ่นสร้างโบสถ์ เนื้อทองเหลือง ปี 2540
พระกริ่งหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย รุ่นสร้างโบสถ์ ปี 2540
รูปหล่อหลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย รุ่นสร้างโบสถ์ เนื้อนวโลหะอุดผง ปี 2540
สมเด็จพิมพ์ใหญ่หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อทองทิพย์
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อนวโลหะหนเากากเงิน
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อเงิน
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อสามกษัตริย์
รูปเหมือนปั้มรุ่นแรก ลพ.โฉม วัดตำหนัก ปทุมธานี รุ่นมงคลจักรวาล เนื้อทองทิพย์
สมเด็จปกโพธิ์หลังรูปเหมือน ลป.ไปล่ วัดดาวเรือง รุ่นพิเศษ รุ่นสุดท้าย ปี 2527
เหรียญหลวงพ่อวงษ์ วัดมะขาม จ.ปทุมธานี หลังยันต์มอญ ปี 2524
เหรียญพระแก้ววัดบางนางบุญ จ.ปทุมธานี ปี 2538 วัดบางนางบุญ จ.ปทุมธานี เลี่ยมพร้อมใช้
เหรียญพระแก้ว1+1+เหรียญพระครูอุทานปทุมรส เหรียญพิธีดีวัดบางนางบุญ จ.ปทุมธานี ปี 2538
เหรียญหลวงปู่ไปล่ วัดดาวเรือง จ.ปทุมธานี รุ่นพิเศษ ปี 2527
พระผงเม็ดบัว ลป.สอนวัดศาลเจ้า จ.ปทุมธานี
พระปิดตา รุ่นแรก เมตตา ลพ.ไปล่ วัดดาวเรือง จังหวัดปทุมธานี ปี ๒๕๒๖
เม็ดประคำอาจารยา์ผาด ด้วงเงิน จ.ปทุมธานี
สมเด็จหลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง จ.ปทุมธานี รุ่นแรก ปี ๒๕๐๐
สมเด็จพระอธิการเชย วัดเจริญบุญ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี
เหรียญพรหมพระราชทานหลวงพ่อชำนาญ เนื้อทองแดง แจกทาน
เหรียญพรหมพระราชทานหลวงพ่อชำนาญ เนื้อทองฝาบาตร
เหรียญพรหมพระราชทานหลวงพ่อชำนาญ เนื้อนวโลหะแก่เงิน
พรหมยกโบสถ์หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง นวะแก่เงิน
พรหมยกโบสถ์หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง นวะแก่เงิน
เหรียญเสมาหลังหนุมาน อ.ติ๊ก วัดดาวดึงษ์ (บน) ไตรมาส ๕๔ เนื้อทองแดง
อาจารย์ติ๊ก เหรียญเสมาหลังหนุมาน ไตรมาส 54 อัลปาก้าลงยา
อาจารย์ติ๊ก เหรียญเสมาหลังหนุมาน ไตรมาส 54 ไม่ตัดปีกนวโลหะ
อาจารย์ติ๊ก เหรียญเสมาหลังหนุมาน ไตรมาส 54
เหรียญหลวงปู่ศุข ลพ.ชำนาญ วัดบางกุฎีทอง หลังยันต์นะฤาชา สร้างปี 2546
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อทองแดง
เหรียญอาจารยา์ผาด ด้วงเงิน จ.ปทุมธานี อาจารย์ผาด อาจารย์ฆาราวาสสุดยอดวิทยาคม
พระปิดตารุ่นแรกหลวงปู่อ้อน วัดบางตะไนย์ จ.ปทุมธานี เนื้อผงพุทธคุณ ฝังพลอย สร้างปี ๒๕๕๑
พระปิดตารุ่นแรกหลวงปู่อ้อน วัดบางตะไนย์ จ.ปทุมธานี เนื้อผงพุทธคุณ ฝังพลอย สร้างปี ๒๕๕๑
เหรียญหลวงปู่โหมด วัดดาวดึงษ์ (บน) จ.ปทุมธานี รุ่นที่ระลึกฝังลูกนิมิตร ปี 2504 เนื้อกะไหล่เงิน
เหรียญหลวงปู่รอด วัดบางพูน จ.ปทุมธานี รุ่น 1 เนื้อทองแดงชุบนิเกิ้ล ปี 2514
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อเงินลงยา สีน้ำเงิน
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อทองแดงผิวรุ้ง
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อนวโลหะ
เหรียญที่ระฤกชาตกาล 120 ปี เซียนแปะโรงสี (โง้วกิมโคย) เนื้อเงินลงยา สีแดง
เหรียญเหล็กผานไถพลิกชีวิต หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย จ.ปทุมธานี พิมพ์เล็ก
เหรียญเหล็กผานไถพลิกชีวิต หลวงพ่อทองกลึง วัดเจดีย์หอย จ.ปทุมธานี พิมพ์ใหญ่
เหรียญถวายภัตราหาร หลวงพ่อชำนาญ เนื้อทองเหลือง
เหรียญแจกทานหลวงพ่อชำนาญ เนื้อตะกั่วหลังเรียบ เหรียญสวย น่าสะสมครับ
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี ปี ๒๕๐๗
สมเด็จตะกรุด 5 ดอก หลวงพ่อละมูลวัดเสด็จ จ.ปทุมธานี
สมเด็จหลังเหรียญหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี ปี ๒๕๐๖
เหรียญหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานีพิมพ์เส้นขาด
เหรียญหลวงปู่รอด วัดบางพูน จ.ปทุมธานี ทำบุญครบรอบ ๘๕ ปี
เหรียญอาจารยา์ผาด ด้วงเงิน จ.ปทุมธานี
พระผงพิมพ์เล็บมือ หลวงพ่อหม่น วัดคลองสิบสอง
เหรียญหลวงปู่เส็งวัดบางนา จ.ปทุมธานี เหรียญรุ่นพิเศษ โค๊ต ส ปี ๒๕๑๘
สมเด็จหลวงปู่รอด วัดเกริน จ.ปทุมธานี มพ์หน้าเดียว บรรจุตะกรุดกริ่งหายาก
เหรียญหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ปทุมธานี ปี ๒๕๐๖ เนื้อทองแดง
สมเด็จหลวงพ่อชำนาญ 3 องค์ สามเนื้อสี
เหรียญกวนข้าวทิพย์ ปี 2547 หลวงพ่อชำนาญวัดบางกุฎีทอง
เหรียญหลวงพ่อชำนาญ ไร้ห่วง สวยเดิม
เหรียญพระพุทธชินราช หลวงพ่อชำนาญ ปี ๒๕๔๙
เหรียญลูกพ่อต้องชนะ หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
ตะกรุดวิษณุราชเจริญศรี หลวงพ่อชำนาญ
เหรียญถวายพัตตาหาร หลวงพ่อชำนาญวัดบางกุฎีทอง
เหรียญพระราชทานเพลิงศพ หลวงพ่อสุรินทร์ วัดบางกุฎีทอง



Copyright © 2012 www.bt-pra.com