ReadyPlanet.com
dot dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
เปิดจองพระเครื่องสร้างใหม่
ห้องคิวจอง
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot

dot
มุมอมยิ้ม


แบนเนอร์ตัวอย่าง
Facebook bt-pra
บัวทองพระเครื่อง
ข่าวออนไลน์
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล


นั่งพานวัดบ้านคลอง

 

 

เหรียญดี เหรียญน่าเก็บ..ลพ.คูณ นั่งพานบ้านคลองชลบุรี .ปี2537..ดีนอก ดีใน



(N)


ขอย้อนข้อมูลและนำท่านเข้าสู่ปี พ.ศ.2537 กันนะครับ.... ผลงานยิ่งใหญ่พระนักพัฒนา สร้างสรรค์ผลงานเพื่อสาธารณชน พระอาจารย์ ฉัตรชัย อภินนโท พระอาจารย์เป็นพระนักพัฒนาเพื่อพัฒนาวัดบ้านคลอง , พัฒนาโรงเรียนประถมวัดบ้านคลองโดยไม่ได้อาศัยงบประมาณจากทางราชการเลย สร้างหอประชุม สร้างศาลาเอนกประสงค์ ตลอดจนสถานีอนามัย ทั้งหมดนี้คือผลงานของพระอาจารย์ฉัตรชัย
ตามประวัติ เดิมที พระอาจารย์ฉัตรชัย อยู่วัดสุทธาราม สำเหร่ กรุงเทพฯ หลังจากวัดบ้านคลองไม่มีเจ้าอาวาส ทางเจ้าคณะภาคจึงได้ส่งพระอาจารย์ฉัตรชัย มาอยู่วัดบ้านคลอง ครั้งแรกที่มาอยู่วัดนั้น วัดยังไม่พัฒนาเสนาสนะก็ยังไม่ค่อยจะมีอะไร ทางคมนาคมเข้าวัดก็ไม่สะดวก ด้วยความทีท่านเป้นพระนักพัฒนาอยู่แล้วก็เลยต้องทำให้วัดมีความเจริญขึ้น พระอาจารย์ฉัตรชัย จึงเดินทางไปยังวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด นครราชสีมา เพื่อขอ อนุญาตหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ (พระญาณวิทยาคมเถระ) จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อให้พุทธศาสนิกชนบูชาไปเพื่อเป็นสิริมงคล เพราะในยุคนั้นหลวงพ่อคูณ ท่านกำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง พูดง่ายๆไม่มีพระเกจิท่านใดเกินหลวงพ่อคูณ ว่างั้นเถอะ หลวงพ่อคูณ เองท่านเป็นพระคณาจารย์ที่มีความเมตตาสูงอยู่แล้ว จึงได้อนุญาตให้พระอาจารย์ฉัตรชัย จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญนั่งพาน ซึ่งมีความสวยงามมาก จนได้รับฉายาว่าเป็น เพชรน้ำเอกของศิลปะเหรียญนั่งพานในยุคนั้นเลยก็ว่าได้
   

 


 

   


(N)


หลวงพ่อคูณได้อนุญาตให้จัดสร้างได้ ต้นแบบเหรียญนั่งพานวัดบ้านคลอง มาจากเหรียญนั่งพานหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่โด่งดังในสายตะวันออก แกะแม่พิมพ์โดยช่างระดับประเทศขณะนั้น คือ ช่าง วิชัย ศรีลอยเมือง
   


(N)


หลวงพ่อคูณได้อนุญาตให้จัดสร้างได้ ต้นแบบเหรียญนั่งพานวัดบ้านคลอง มาจากเหรียญนั่งพานหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่โด่งดังในสายตะวันออก แกะแม่พิมพ์โดยช่างระดับประเทศขณะนั้น คือ ช่าง วิชัย ศรีลอยเมือง
   


(N)


ความหมายบนเหรียญนั่งพานหลวงพ่อคูณออกวัดบ้านคลอง (ความหมายเหรียญวัดบ้านคลอง)

เหรียญนั่งพานวัดบ้านคลองที่สร้างขึ้นมานี้มีความหมาย บนเหรียญล้วนมีความหมายทั้งสิ้น เป็นเหรียญรูปเสมาธรรมจักร กวางคู่หมอบอยู่ข้างแท่นพานหรือถาดทองคำ อันหมายถึงสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ลูกศรเปรียบเสมือนตัวกิเลสหรือเครื่องเศร้าหมองที่คอยทิ่มแทงเราอยู่ทุก เมื่อเชื่อวัน

ในพุทธประวัติมีอยู่ว่า ในเช้าวันหนึ่ง นางสุชาดาบุตรีกุฎมพี นายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา ปรารถนาจำทำการบรวงสรวงเทวดาหุงข้าวปายาสคือข้าวสุก หุงด้วยน้ำนมโคล้วนเสร็จแล้วจัดลงในถาดทอง นำไปที่โพธิพฤกษ์เห็นพระมหาบุรุษเสร็จนั่งอยู่ สำคัญว่าเทวดาจึงน้อมข้าวปายาสเข้าไปถวาย ในเวลานั้นบาตรของพระองค์เผอิญอันตธานหาย พระองค์จึงทรงรับข้าวปายาสนั้นทั้งถาดด้วยพระหัตถ์แล้วทอดพระเนตรดูนาง นางทราบพระอาการจึงทูลถวายทั้งถาดแล้วกลับไป พระมหาบุรุษทรงถือถาดข้าวปายาสเสด็จไปสู่ท่าแห่งแม่น้ำเนรัญชรา สรงแล้วเสวยข้าวปายาสหมดแล้ว ทรงลอยถาดเสียในกระแสน้ำ ถาดทองคำได้ไหลทวนกระแสน้ำและจมลงสู่บาดาลภาคพิภพที่มีพญานาคอาศัยอยู่ เสียงถาดทองคำที่จมลงไปกระทบกันทำให้บังเกิดเสียงดัง ปลุกให้พญานาคตื่นขึ้นแล้วอุทานขึ้นว่า " อะไรกันเราหลับไปแค่ครู่เดียว บนโลกมนุษย์บังเกิดพระพุทธเจ้าขึ้นอีกองค์แล้วหรือ " แล้วก็หลับใหลสู่กิเลสนิทราต่อไป

คำอธิบาย ถาดทองคำเปรียบเสมือนพระธรรมคำสั่งสอน ที่ว่าไหลทวนกระแสน้ำนั้น เปรียบเสมือนไหลทวนกระแสจิตใจของมนุษย์ที่ลื่นไหลไปตามกระแสของโลกแล้วแต่ เหตุปัจจัยจะนำไป มีความโลภ โกรธ หลง อุปาทาน มีทิฐิ มานะ เป็นต้น เสียงถาดทองคำที่กระทบกันจนเกิดเสียง เสียงที่ดังนั้นก็คือเสียงพระธรรมที่ปลุกกิเลสตัณหาให้ตื่น พญานาคเปรียบเสมือนกิเลสตัณหา ที่หลับอยู่ในร่างกายมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย

ธรรมจักร คือสถานที่แสดงปฐมเทศนาธรรมครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เทศนาที่แสดงชื่อธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร ทำให้อัญญาโกณทัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมทูลขออุปสมบท เป็นภิกษุองค์แรกของพุทธศาสนา เป็นวันที่รัตนะตรงสามได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และต่อมาภายหลังสืบมาจัดเป็นวันอาสาฬหบูชาของเราชาวพุทธได้ร่วมกันทำ ประทักษินเวียนรอบ เพราะเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพุทธศาสนานั่นเอง

จะเห็นได้ว่า เหรียญนั่งพานหลวงพ่อคูณ ของวัดบ้านคลองที่สร้างขึ้นมานี้ความหมายมีทั้งหมด จึงแน่ใจได้ว่ามีคุณค่าควรแก่การบูชา ยิ่งได้หลวงพ่อคูณ ให้ความเมตตาปลุกเสกเดี่ยวอีกด้วย แน่ใจได้เลยว่าได้ของดีไปอย่างไม่มีข้อกังขา
 


(N)


วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
ช่วงนั้นเนื่องจากวัดบ้านคลองเป็นวัดพัฒนาใหม่เป็นวัดที่อยู่ห่างไกลจากความ เจริญพอสมควร การก่อสร้างศาลาการเปรียญที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ในช่วงนั้น ทางวัดมีการไปขอแบบแปลนแบบตรีมุขจากกรมศาสนา เพื่อนำมาก่อสร้างในงบประมาณการก่อสร้าง 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) งบประมาณดังกล่าวนั้น ทางวัดต้องอาศัยจากศรัทธาของประชาชนโดยส่วนรวมงานครั้งนี้จึงจะสำเร็จตาม ปรารถนาของวัด และชาวบ้านจะได้ใช้ศาลาการเปรียญดังกล่าวนี้ใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์ กล่าวคือใช้เป็นสถานศึกษาพระธรรมวินัยของภิกษุ สามเณร ใช้เป็นสถานที่ประชุมฟังธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) และบำเพ็ญกุศลในวันนักขัตฤกษ์ อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาและส่วนรวม ตลอดถึงใช้เป็นที่ประชุมระดับหมู่บ้านของชาวบ้านในบางโอกาส ส่วนด้านการศึกษานั้นในพื้นที่ของวัดนี้ มีโรงเรียนระดับประถามศึกษาภาคบังคับอยู่ เรียกว่าโรงเรียนบ้านคลอง ซึ่งมีอาคารเรียน 3 หลัง เป็นอาคารเรือนไม้ 1 หลัง อาคารเรียนแบบ สปช. 2 หลัง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมดในตอนนั้น 178 คน มีครูประจำอยู่ 8 ท่าน ในทำเลที่ตั้งของวัด และโรงเรียนเป็นที่ดอน ดินไม่อุ้มน้ำในคราวหน้าแล้งจะแล้งมากขาดแคลนเครื่องดื่่ม น้ำใช้ เป็นที่ลำบากเดือดร้อนไปทั่วหน้ากันไปทั่วทั้งวัด,โรงเรียน ตลอดจนกระทั้งชาวบ้าน ส่วนนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ส่วนมากเป็นลูกหลานคนงานรับจ้างย้ายถิ่นฐานมาจากถิ่นอื่น จัดอยู่ในฐานะยากจน โดยพอสรุปได้ดังนี้คือประมาณ 85% เป็นลูกหลานคนงานที่มีฐานะยากจน 10% อยู่ในฐานะพอมีกินมีใช้ และอีก 5% ที่เหลือถือว่าทางบ้านมีฐานะค่อนข้างดี จึงทำให้ความพร้อมและโอกาสทางการศึกษาไม่ดีเท่าที่ควร จากข้อมูลดังกล่าวทางวัดจึงได้จัดทำโครงการ " อัตถจารีปรหิตบุคคล" เพื่อแก้ไขปมปัญหาให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งโครงการที่ทางวัดได้จัดทำและดำเนินการคือ

1. โครงการประปาเพื่อประชาชน คือ การเจาะน้ำบาดาล เพื่อทำประปาใช้ในชุมชนซึ่งหมายถึง วัด,โรงเรียน และหมู่บ้าน พร้อมติดตั้งเครื่องกรองน้ำสะอาด
2. โครงการส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ ตั้งทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ พร้อมอุปถัมภ์การศึกษา-ค่าใช้จ่าย
3. โครงการอาหารกลางวัน คือ มีกินตลอดปีการศึกษา โดยเด็กนักเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด
4. โครงการลดภาระผู้ปกครอง คือรับเด็กอ่อนมาสอนก่อนเข้าเกณฑ์
5. ตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้าน เพื่อสงเคราะห์แก่คนชรา ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยไม่คิดมูลค่า ใช้ชื่อกองทุน "อัตถจารีบุคคล"
เห็นไหมละครับว่า พระอาจารย์ฉัตรชัย ซึ่งเป็นผู้ที่จัดสร้างเหรียญนั่งพาน วัดบ้านคลองนี้ ท่านเป็นพระนักพัฒนาสร้างเสนาสนะของวัดแล้ว ท่ายังช่วยเหลือสังคมอีกมาก เงินส่วนมากได้มาจากการจำหน่ายวัตถุมงคลรุ่นดังกล่าวและยังได้จัดสร้างเพิ่ม เติม เช่น การสร้างโรงเรียนวัดบ้านคลอง 3 ชั้นๆละ 7 ห้อง ห้องข้างล่างเป็นที่จอดรถของเด็กนักเรียน สร้างโรงอาหารเด็กนักเรียน สร้างหอประชุมเอนกประสงค์ สร้างห้องน้ำห้องสุขา สร้างบ้านพักครู 2 หลัง สร้างสถานีอนามัยสำหรับหมู่บ้านอีกด้วย
 


(N)
สร้างโบถท์และศาลาการเปรียญวัดบ้านคลอง
   


(N)


ข้อมูลการปลุกเสกเหรียญนั่งพานวัดบ้านคลองปี 2537

เหรียญนั่งพานออกวัดบ้านคลองนี้ หลวงพ่อคูณ ได้ให้ความเมตตาปลุกเสกเดี่ยวให้ถึง 2 ครั้ง ซึ่งถือว่า หลวงพ่อคูณ ท่านได้ให้ความเมตตามากๆนะครับ เพราะถือว่าในช่วงนั้นเอง หลวงพ่อคูณ ท่านกำลังโด่งดังระดับประเทศ ท่านได้รับการนิมนต์เพื่อปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆเยอะมากๆ ซึ่งเหรียญนั่งพานชุดนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์ปลุกเสกที่วัดบ้านไร่เอง ทั้ง 2 ครั้งดังนี้

ปลุกเสกครั้งที่ 1 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และ
ปลุกเสกครั้งที่ 2 วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2537
 


(N)


รูปแสดงการตอกโค๊ต และทำลายทั้งโค๊ต และ บล๊อกแม่พิมพ์
 


(N)


ข้อมูลการสร้างสำหรับเหรียญรุ่นนี้ และโค๊ตที่ใช้ตอกมีดังนี้
1.เหรียญนั่งพานเนื้อทองคำ สร้าง 500 เหรียญ....หูตัน จะตอกโค๊ต 2 โค๊ต คือ ตอก นะกลม ด้านบน และ ยากลม ด้านซ้ายมือหลวงพ่อ
2.เหรียญนั่งพานเนื้อเงิน สร้า 2,537 เหรียญ......มีหู จะตอกโค๊ต 2 โค๊ต คือ ตอก นะ ด้านบน และ ยา ด้านขวามือหลวงพ่อ
3.เหรียญนั่งพานเนื้อนวะ สร้าง 5,000 เหรียญ.....หูตัน จะตอกโค๊ต 2 โค๊ต คือ ตอก ยา ด้านบน และ นะ ด้านข้างขวามือหลวงพ่อ
4.เหรียญนั่งพานเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 84000 เหรียญ.. มีหู จะใช้ทั้งโค๊ต ทั้งหมดคือ
4.1 โค๊ตที่ตอกเนื้อทองแดงโดยเฉพาะคือ โค๊ต ยะ
4.2 โค๊ตที่ตอกเนื้อเงินเป็น โค๋ต นะ หยดน้ำ และ
4.3 โค๊ตที่ใช้ตอกเหรียญเนื้อนวะเป็น โค๊ต นะ วงกลม
5.เหรียญนั่งพานเนื้อทองแดงสองกษัตริย์ ................. มีหู โค๊ตและการตอกเหมือนเหรียญทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ เนื่องจากนำเหรียญทองแดงไปชุบที่จ.ชลบุรี 2 ครั้ง (ครั้งละ 150 เหรียญ รวมแล้วประมาณ 300 เหรียญครับ)
6.เหรียญนั่งพานเนื้อทองแดง แจกกรรมการ .................หูตัน ไม่มีการตอกโค๊ต จำนวนการสร้างไม่ได้ระบุ (น้อยมากๆ จำนวนน่าจะหลัก 10 เหรียญครับ) เนื่องจากนำเหรียญลองพิมพ์ (เป็นเหรียญที่ปั๊มก่อนเหรียญทองคำ) ด้านหลังจะเรียบ โดยหลวงพ่อคูณท่านเมตตาจารให้ เพื่อสมนาคุณให้แก่กรรมการที่ร่วมงาน สร้างเหรียญนั่งพานรุ่นนี้ขึ้นครับ

***เหรียญเนื้อทองคำ/เนื้อเงิน/เนื้อนวะ หมายเลขที่ 500 ของทุกเนื้อ และเนื้อทองแดงจำนวน 8,500 เหรียญ ทางกรรมการวัดได้ถวายให้ หลวงพ่อคูณ ครับ และอีก 2,000 เหรียญ ได้ถวายวัด สุทธารามด้วยครับ




เหรียญนั่งพาน ลพ.คูณ วัดบ้านคลอง จ.ชลบุรี จัดสร้างเมื่อปี 2537 จัดสร้างทั้งหมด 4 เนื้อคือ

1. เนื้อทองคำ สร้าง 500 เหรียญ ( เบอร์ 500 ทั้ง 3 เนื้อ ทองคำ เงิน นวะ ถวาย ลพ.คูณ , เบอร์ 456 อยู่กับ สรพงษ์ ชาตรี )
2. เนื้อเงิน สร้าง 2537 เหรียญ ตามปี พ.ศ.ที่จัดสร้าง
3. เนื้อนวะโลหะ สร้าง 5,000 เหรียญ
4. เนื้อทองแดง ขอจัดสร้าง 84,000 เหรียญ สร้างจริงได้ 50,000 กว่าเหรียญ และนำมาทำ 2K จำนวนหนึ่ง ประมาณ 2-300 เหรียญ


พระตัวอย่างมีการจัดสร้างดังนี้

1. เนื้อทองคำหลังเรียบ สร้าง 2 เหรียญ
2. เนื้อเงินหลังเรียบ สร้าง 9 เหรียญ
3. เนื้อนวะโลหะหลังเรียบ สร้าง 9 เหรียญ
4. เนื้อทองแดงหลังเรียบ สร้าง 9 เหรียญ

เข้าปลุกเสกด้วยกันกับเหรียญปกติ

ข้อมูล : จากหลวงพ่อฉัตรชัย และคุณกิตติ ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อครับ...

ข้อมูลเผยแผ่คัดมา

ขอบคุณท่าน bangbai เว็ปจีพระ มากๆครับผม

มาฉีดวัคซีนเข็มเล็กกับ เหรียญนั่งพานวัดบ้านคลอง หลวงพ่อคูณปี 2537....

เหรียญเก้ เนื้อทองแดง มาแล้วๆๆ



(N)


เรามาดูลักษณะของเหรียญนั่ง พานออกวัดบ้านคลองเปรียบเทียบระหว่างเหรียญจริงและเหรียญเก้ กันนะครับ เริ่มจากด้านหน้า และด้านหลังนะครับ
   


(N)
1. มาดูด้านหน้า ซึ่งดูยากมากๆนะครับ ไม่สังเกตดีๆ แทบจะแยกไม่ออกนะครับ งั้นข้อระมัดระวังข้อแรก ถ้าเป้นโค๊ตตัวนะ ในวงกลม ให้ระวัดระวังไว้ก่อนนะครับ ซึ่งเหรียญเก้ ตอนนี้เน้นนะครับ ตอนนี้ มีเฉพาะโค๊ตนะ ในวงกลม ซึ่งใช้ตอกเนื้อนวะ ครับ
 


(N)
2. เรามาดูจุดอื่นๆที่สังเกตได้ง่ายๆนะครับ โดยเฉพาะด้านหลัง มาสังเกตที่บริเวณหูเหรียญด้านหลังนะครับ
2.1 เหรียญแท้จะเจาะทะลุกลมสวยงาม และรอบๆเหรียญจะเรียบตึง ส่วนเหรียญเก้ เจาะไม่สวยงามและบริเวณรอบๆจะมีรอยกด ให้สังเกตตามรูปนะครับ
2.2 จุดกึ่งกลางระหว่างรูที่เจาะ เหรียญแท้จะแบ่งครึ่งได้อย่างสวยงาม ส่วนเหรียญเก้ จะไม่อยู่ตรงกึ่งกลาง ลองสังเกตุที่รูปดูนะครับ
 


(N)
3. มาดูขอบด้านหลังเหรียญ ตรงขอบด้านในและด้านนอกเหรียญ พื้นที่ของเหรียญจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
3.1 เหรียญแท้พื้นผิวบริเวณดังกล่าวจะเรียบและบางจุดจะมีก้นหอยบางๆวนรอบพื้นที่เหรียญ ลักษณะคล้ายๆกับด้านหลังของเหรียญเนื้อเงิน
3.2 เหรียญเก้ จะมีลักษณะบริเวณพื้นผิวดังกล่าวมีหลุมระหว่างพื้นที่เหรียญแยกออกเป็น 2 ส่วน คล้ายๆกับพิมพ์ด้านหลังของเหรียญเนื้อนวะ ของรุ่นนี้ครับ
ลองพิจารณาจากจุดที่สังเกตง่ายๆ ที่ผมได้วง วงกลมไว้นะครับ
 


(N)
4. จุดนี้สังเกตง่ายๆนะครับ เป็นจุดตายอีกจุดที่ควรจดจำนะครับ บริเวณการโค้งมน เข้ามุมตรงด้านล่างของเหรียญ เหรียญแท้จะโค้งเข้ามุมได้อย่างสวยงาม ส่วนเหรียญเก้ จะเข้าโค้งเข้ามุมไม่ประณีต ครับ ดูจากรูปประกอบนะครับ
 


(N)
5. จุดชี้เป็นชี้ตายอีกจุดคือ ขอบเหรียญ ถ้าดูได้นะครับ ส่วนมากเหรียญเก้จะพยายามเลี่ยมพลาสติกนะครับ ถ้าเราดูจากขอบเหรียญได้ ยิ่งมั่นใจได้ว่า สามารถแยกเหรียญแท้-เก ้ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ครับ
5.1 เหรียญแท้จะหนามากกว่าเหรียญเก้ครับ
 


(N)
5.1 รอบๆเหรียญนะครับ
 


(N)
5.2 เหรียญแท้ จะมีรอยตัด 2 ขยักครับ ลองดูที่รูปนะครับ
 


(N)
ทิ้ง ท้าย ถ้าเหรียญนั้นเป็นเหรียญที่ไม่มี ห่วง ที่เหรียญ , ไม่มีกล่องเดิมๆ และเป็นเหรียญที่มีโค๊ตนะในวงกลม เป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกๆท่านต้องใช้ฝีมือนะครับ

 

 

วัคซีน..เข็มเล็ก สำหรับเหรียญหลวงพ่อคูณ

นั่งพานบ้านคลอง..เนื้อเงิน ..เก้บล๊อคแรก..ครับ

   

 


 

 


(N)


เหรียญด้านบนคือ เก้ ทั้ง 2 เหรียญครับ
เราค่อยๆมาไล่ดูกันว่า จุดไหนบ้างที่เราจะสังเกตได้นะครับ ผมจะเริ่มจากด้านหน้าเหรียญนะครับ ส่วนตัวได้ส่องเหรียญเก้แล้วครับ แต่ไม่ได่ถ่ายรูปเนื่องจากเปิดราคามาใกล้เคียงเหรียญจริงมากๆครับ ถามราคาล่าสุดก็มีตั้งแต่ 6,000 - 7,500 บาทครับ
จุดสังเกตที่ 1 ด้านหน้า ดูรูปประกอบนะครับ ความคมชัดเหรียญแท้จะคมชัดมากกว่านะครับ ใครเคยเห็นเหรียญแท้แล้วไม่ต้องกลัวนะครับ สังเกตได้ง่ายครับ
จุดที่2 ด้านหน้า บริเวณที่ระบายสีแดง เหรียญแท้จะมีเส้นสายวิ่งชัดเจนนะครับ ส่วนเหรียญเก้จะไม่มีครับ
 


(N)


จุดสังเกตหรือจุดตายด้านหน้าของ บล๊อคนี้มี 3 ตำแหน่งครับ คือ
1. โค๊ตตัวนะ ที่ตอกบนศรีษะ หลวงพ่อ เหรียญแท้ปลายโค๊ตจะอยู่ตรงกลางตัวนะ ส่วนเหรียญเก้ มองเข้าไปจะเยื้องออกทางขวามือเรานะครับ ลองสังเกตดูนะครับ
2. พระพุธ ที่อยู่ด้านบนของเหรียญครับ เหรียญแท้จะเต็มองค์ครับ เหรียญเก้ พระพุธเข่าจะลอยติดไม่เต็มอีกข้างหนึ่งครับ มองเข้าไปจะอยู่ด้านซ้ายนะครับ
3. ตัวกวางที่อยู่ใต้พาน เหรียญแท้จะตัวอ้วนอุดมสมบูรณ์ และอยู่ในป่า ส่วนเหรียญเก้ จะผอมแห้งแรงน้อย และไม่มีป่า นะครับ จุดนี้สำคัญมากๆนะครับ
   
 
 


(N)
แก้ไขข้อความด้านบนนะครับ จากพระพุธ เป็นพระพุทธ ครับ
เรามาดูด้านหลังเหรียญนะครับ มีจุดสำคัญที่เราสังเกตได้ เพื่อจะได้หลีกหนี เหรียญเก้ได้ดังนี้ครับ
1. ขอบด้านข้างมองเข้าไปอยู่ซ้ายมือเรานะครับ จุดนี้สำคัญมากๆนะครับ ว่ากันว่าเหรียญเก้ ด้านหลังถอดแบบมาจากเหรียญนวะครับ ด้านหลังบริเวณขอบเหรียญแท้ จะมีรอยกลึง..วนๆเป็นรูปเหมือนก้นหอย สวยงามนะครับ ส่วนเหรียญเก้จะเป็นเส้นดูแล้วจุดนี้เป็นจุดตายของบล๊อคนี้ได้เลยครับ
 


(N)
2.ขอบด้านล่างเหรียญก็เช่าเดียวกันนะครับ เหรียญจริงจะมีรอยกลึง..วน.รอบๆ ครับ เหมือนรูปก้นหอยครับ
 


(N)
ผิดรูปนะครับต้องรูปนี้ครับ
 


(N)
เนื่อง จากเหรียญเก้ บล๊อคนี้เป็นบล๊อคแรก ตำหนิยันต์ด้านหลังยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่ครับ ลองดูตรงที่ผมให้สังเกตนะครับ เหรียญเก้ เหรียญจะบวม ตามตำแหน่งที่ผมระบุนะครับ
 


(N)


สุดท้ายมาดูกันที่กล่องนะครับ กล่องถ้าใครไม่เคยเห็นกล่องแท้ กล่องจะทำได้เหมือนมากๆนะครับ แต่ไม่เป้นไรนะครับ มาค่อยๆมาดูกับผมไปเรื่อยๆนะครับ ลองสังเกตดูนะครับ 1. กล่องแท้ วงเล็บตรง ปริสุทโธ กล่องแท้วงเล็บจะอยู่ห่าง โธ นะครับ ส่วนกล่องเก้ จะอยู่ชิดติดคำว่า โธ ครับ
2.ตัวหนังสือ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา กล่องแท้ตัวหนังสือจะอ้วน ส่วนกล่อง เก้ ตัวหนังสือจะผอมครับ
 


(N)
มา ดูด้านหลังกล่อง แทบจะดูไม่ออกนะครับ ทำได้เหมือนมากๆนะครับ เหลืองแต่ตรงตราวัดบ้านคลองเท่านั้นที่ดูไม่คมชัดนะครับ เรื่องกล่องนี้ควรจะพิจารณา เป็นเรื่องสุดท้ายครับ
   
ขอบพระพระคุณข้อมูลจากท่าน bangbai เว็ปจีพระ มากๆครับผม



ชี้ตำหนิพระเครื่อง หลวงพ่อคูณ

17 เก๊ๆ มาแล้วจ้า
เหรียญสร้างบารมี ปี 2519
เหรียญวัดบ้านคลองหลังเรียบ ปี 2534
หมายเลข โค้ด และรอยตัดเหรียญสิริมงคล
มาดูโค๊ตและกลุ่มตัวเลข นั่งพานชนะมาร หลวงพ่อคูณกันครับ
ชมโฉมเหรียญเหรียญแท้ดูง่ายเจริญพรบนครึ่งองค์ หลวงพ่อคูณ
เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรกปี 12
ชี้ตำหนิเหรียญปี 19 ย้อนยุค หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่



Copyright © 2012 www.bt-pra.com