ReadyPlanet.com
dot dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
เปิดจองพระเครื่องสร้างใหม่
ห้องคิวจอง
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot

dot
มุมอมยิ้ม


แบนเนอร์ตัวอย่าง
Facebook bt-pra
บัวทองพระเครื่อง
ข่าวออนไลน์
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล


พระหลวงพ่อผาด วัดดงตาล ลพบุรี

พระหลวงพ่อผาด วัดดงตาล ลพบุรี

     พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล(วัดสามัคคีธรรม) พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหรือวัดสามัคคีธรรม ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นพระที่พบบรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธานในพระอุโบสถของวัด มีการขุดเจาะพระออกมาเมื่อปี 2543เมื่อครั้งทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระที่พบออกมามีจำนวนประมาณ สี่หมื่นองค์ เป็นพระเนื้อดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้างประมาณ1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร ความหนาบางของพระไม่แน่นอน ด้านหน้าเป็นรูปพระปางสมาธิมีเส้นซุ้มล้อมรอบ(คล้ายกับพระพิมพ์ประภามณฑลของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ายุคต้นๆ)ประทับอยู่บนฐานเขียงชั้นเดียวเบื้องล่างเป็นรูปสัตว์มีอยู่สองชนิดคือ ทรงเสือและทรงสิงห์ ด้านบนขององค์พระมีรูเจาะและอุดผงพุทธคุณปิดด้วยซีเมนต์อีกชั้นหนึ่งคล้ายกับพระพิมพ์ของหลวงพ่อปาน บางองค์จะมีการทาชาดแดงทับก่อนปิดด้วยซีเมนต์อีกชั้นหนึ่งก็มี ด้านหลังและขอบด้านข้างส่วนใหญ่จะมีรอยปาด รอยตัดเข้ารูป หรือบางองค์ด้านหลังก็มีรอยนิ้วมือของผู้กดพิมพ์ปรากฏอยู่ ส่วนผงที่อุดรูผงนั้นเป็นผงที่ได้จากการเขียนยันต์และบริกรรมคาถากำกับแต่ละบทที่มีพุทานุภาพอันทรงประโยชน์เช่นยันต์เกราะเพชร แล้วลบออก แล้วเขียนซ้ำใหม่แบบนี้หลายๆครั้งจนได้ผงวิเศษออกมาโดยหลวงพ่อปานแห่ง วัดบางนมโค นอกจากพิมพ์ทรงเสือและสิงห์แล้วยังพบพระพิมพ์สมเด็จคะแนนด้านหน้าเป็นรูปพระประธาน ด้านหลังเรียบ ด้านบนเจาะรูอุดผงซึ่งเป็นพระคะแนนนับจำนวน และพระพิมพ์รูปนางกวักสร้างจากเนื้อผงพุทธคุณล้วนๆแต่มีจำนวนไม่มากนัก พระครูกิตติพิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม (ดงตาล) ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เปิดเผยว่า ขณะที่ทางวัดดงตาลได้บูรณะซ่อมอุโบสถเก่า แบบก่ออิฐถือปูน เครื่องบนหลังคา เป็นไม้สัก ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ทรุดโทรม ไปตาม กาลเวลา จึงได้ซ่อมใหม่โดยการสกัดเจาะฐานหลังชุกชีปูนปั้นเป็นช่อง เพื่อยกองค์ พระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง ปางสมาธิ หน้าตัก ๒ ศอกให้สูงขึ้นกว่าพระพุทธรูปองค์รอง ที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระประธานบนฐานเดี่ยว เพื่อให้พระประธานเด่นเป็นสง่ากลางอุโบสถ ระหว่างที่บูรณะอยู่นี้ ได้พบพระพิมพ์สี่เหลี่ยม เนื้อดินประทับสิงห์ และเสือ ตกลง มาจากโพรง ใต้ฐานบัวพระประธาน จำนวนหนึ่ง คณะกรรมการวัด จึงยุติการเจาะฐาน แล้วตรวจสอบนับจำนวนพระที่พบ จึงทราบจากคำบอกเล่าของ นายตี๋ ชิงช่วง อายุ ๗๕ ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน และผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านอีกหลายท่านว่า วัดดงตาล เดิมเป็นวัดร้าง มาบูรณะขึ้นใหม่ประมาณสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาหมอผาด เกษตรง เจ้าของร้านขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ บางลำพู กรุงเทพฯ ได้มาเป็นผู้นำในการสร้าง อุโบสถและหล่อ พระประธานขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗ แล้วหมอผาดซึ่งมีความรู้ทางวิชาอาคม ในการหุงน้ำมันมนต์ และปรุงยาโบราณ มีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอย่างดียิ่ง บางข้อมูลก็ว่าหมอผาดได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน จึงได้ขอให้หลวงพ่อปาน ช่วยสร้างพระเครื่องสำหรับบรรจุกรุในอุโบสถตามธรรมเนียม แห่งการสร้าง อุโบสถมาแต่โบราณ ซึ่งหลวงพ่อปานมีเมตตาสร้างเป็นพระพิมพ์ ประทับสิงห์และเสือซึ่งมีความแตกต่างจากบรรดาสัตว์ ๖ ประเภท(ทรงไก่ ครุฑ หนุมาน ปลา เม่นและนก)ที่หลวงพ่อปานท่านสร้างที่วัดบางนมโคก็เนื่องจากหมอผาดท่านเกิดปีขาล สัญญลักษณ์คือเสือ ซึ่งเป็นสัตว์ที่แสดงถึงพลังอำนาจเป็นที่น่าเกรงขาม ส่วนทรงสิงห์คงเป็นด้วยอุปเท่ห์ด้านความมีอำนาจวาสนา ความเป็นผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ เป็นเจ้าป่าเจ้าแห่งสัตว์ทั้งปวง ลักษณะของพระเป็นเนื้อดินเผาขนาดเล็ก ตัดขอบ เจาะบรรจุผงวิเศษ และปลุกเสกมอบให้หมอผาด นำใส่กล่องไม้ ลงเรือล่องมาตามแม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา มาขึ้นที่คลองหลังวัดดงตาล ต่อมาหมอผาด ได้บวชเป็นพระภิกษุ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก เพราะหมอผาดเป็นพระหมอที่เก่ง ในการรักษาโรคกระดูก โรคเส้น ฯลฯ ด้วยน้ำมนต์และมีดโต้ศักดิ์สิทธิ์สำหรับรักษาโรคประจำตัว พระผาด จึงได้ฉายาว่า หลวงพ่อผาด มีดโต้ เมื่อท่านสร้างอุโบสถวัดดงตาลแล้วเสร็จ จึงได้นำพระพิมพ์ประทับหลังสิงห์และเสือ บรรจุไว้บนฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระประธาน ซึ่งหล่อด้วยโลหะขึ้นประดิษฐานครอบไว้ จึงก่ออิฐถือปูนเป็นบัวคว่ำบัวหงายเปิดไว้ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔ ภายหลัง หลวงพ่อผาด วีรุตตโม ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ และมรณภาพ เมื่อปี ๒๕๐๐ ชาวดงตาล และทายาทห้างขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ และพระจันทร์เวชโอสถ จึงได้หล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริง พร้อมมีดโต้ประจำตัว ไว้สักการบูชาประจำวัดดงตาล เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาถึงปัจจุบัน ประวัติโดยละเอียดของหลวงพ่อผาดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้ชัดเจนนักเนื่องจากท่านเป็นพระที่สมถะ และวัดดงตาลก็เป็นเพียงวัดเล็กๆในจังหวัดลพบุรี ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นพระมีเมตตาสูงเป็นพระหมอที่มีความรู้ความสามารถมาก มีวิชาอาคมแก่กล้า ท่านเป็นพระเกจิ ที่มีวิชาความรู้ด้านแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าท่านสามารถรักษาคนง่อยเปลี้ยเสียขาให้กลับมาเดินเหินได้เป็นปกติเลยทีเดียว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยเมื่อท่านสำเร็จวิชาที่วัดบางนมโค แล้วต่อมาจึงมาร่ำเรียนที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อสำเร็จวิชาจึงกลับมายังวัดดงตาลวัดบ้านเกิดเพื่อพัฒนาให้มีความเจริญสมฐานะแก่ศาสนสถาน เจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม บอกด้วยว่า นับเป็นเวลาเกือบ ๗๐ ปี ที่พระเครื่องชุดนี้ได้บรรจุอยู่ในองค์พระประธาน ในอุโบสถวัดดงตาล ซึ่งพระสงฆ์ได้ทำวัตรสวดมนต์ และทำสังฆกรรมในอุโบสถมาเป็นเวลาอันยาวนาน พระกรุหลวงพ่อผาดชุดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นก็เมื่อครั้งที่ทางวัดมีการบูรณะอุโบสถวัดดงตาลในปี๒๕๔๓ซึ่งใช้งบประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ทางวัดดงตาลจึงนำพระเครื่องที่ขุดเจาะได้มอบให้แก่เจ้าภาพผู้ร่วมทอดผ้าป่าสมทบทุนบูรณะอุโบสถและเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้บูชาในราคาเริ่มต้นองค์ละ ๕oo บาท และจะนำพระพิมพ์ส่วนที่เหลือจากการมอบให้เจ้าภาพผ้าป่าและเปิดให้เช่าบูชาแล้ว บรรจุกรุใต้ฐานพระประธานเป็นพุทธบูชาอีกครั้งหนึ่งหลังจากทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งในครั้งนั้นเมื่อเรื่องราวการเปิดให้ร่วมกันทำบุญและเช่าบูชาพระหลวงพ่อผาดแพร่กระจายออกไปได้มีผู้สนใจจัดตั้งกองผ้าป่าและร่วมเช่าพระที่วัดเป็นจำนวนมากทำให้ได้เงินปัจจัยเพื่อบูรณะโบสถ์ครั้งนั้นสูงถึง ๔,oo,ooo บาท จนทำให้สามารถบูรณะพระอุโบสถสำเร็จเสร็จสิ้นลงได้อย่างรวดเร็วและยังเหลือเงินอีกจำนวนหนึ่งไปสร้างเป็นมณฑปได้อีกหนึ่งหลัง ทั้งนี้ด้วยความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อผาดและความต้องการพระเครื่องที่สร้างโดยหลวงพ่อปานโดยแท้ พระเครื่องชุดหลวงพ่อผาดได้ดำเนินการจัดสร้างและปลุกเสกขึ้นที่วัดบางนมโค อยุธยาโดยหลวงพ่อปานซึ่งคาดว่าน่าจะมีจำนวนสร้างประมาณ ๘๔,ooo องค์โดยถือเอาตามตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ลักษณะของเนื้อดินเป็นดินขุยปูมีเม็ดแร่กระจายอยู่ทั้งองค์เหมือนกับพระเครื่องของหลวงพ่อปานพิมพ์อื่นๆไม่มีผิดเพี้ยน เพียงแต่น่าจะมีความแตกต่างในกรรมวิธีการเผาเท่านั้นโดยจะสังเกตได้ว่าพระของหลวงพ่อปานส่วนใหญ่จะมีวรรณะเป็นสีดินหม้อใหม่หรือสีแดงดินเผา เนื่องมาจากการเผาพระนั้นใชปี๊ปสังกะสีทำการบรรจุพระพิมพ์แล้วสุมไฟเผา ด้วยลักษณะของโลหะสังกะสีที่นำความร้อนได้ดี ความร้อนจึงแพร่กะจายไปทั่วปี๊ปทำให้พระที่เผาสุกในเวลาใกล้เคียงกัน สีจึงออกมาใกล้เคียงกันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระชุดหลวงพ่อผาดจะมีความแตกต่างกันคือมีวรรณะของสีพระหลากหลายมีทั้งสีขาวนวล สีพิกุล สีแดงอิฐ สีเขียว สีเทาและดำ ซึ่งสันนิษฐานว่าเมื่อกดพระพิมพ์เสร็จแล้วคงจะนำไปบรรจุลงในไหหรือโอ่งดินเผาแล้วนำไปสุมไฟเช่นเดียวกับการเผาพระสกุลลำพูนแบบโบราณกาล ด้วยลักษณะของภาชนะดินเผาซึ่งนำความร้อนได้ช้าและส่วนล่างที่ถูกไฟสุมพระจะสุกก่อนพระจะมีวรรณะออกดำ ส่วนด้านบนพระจะสุกทีหลังจึงมีวรรณะออกขาวนวล ถ้าจะพูดกันถึงพุทธคุณในพระเครื่องหลวงพ่อผาด วัดดงตาล เป็นที่กล่าวขานกันมานานแล้วว่าไม่แตกต่างจากพระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคแต่อย่างใดคือ เด่นมากในด้านเมตตามหานิยมและค้าขายเป็นเลิศอีกทั้งยังใช้พระเครื่องของท่านทำน้ำมนต์รักษาโรคได้สารพัดทีเดียวเพราะท่านเองก็เป็นพระหมอที่มีวิชาติดตัวเป็นที่โด่งดังมากทีเดียวบางท่านที่เคยบูชามาแล้วกล่าวกันว่ายังเด่นในด้านมหาอำนาจอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นด้วยอุปเท่ห์แห่งพิมพ์พระทรงสัตว์ที่เป็นเสือและสิงห์ก็เป็นได้ คุณลุงอำพร มีสัตย์ อายุ ๕๙ ปีหนึ่งในกรรมการวัดซึ่งร่วมในการเปิดกรุพระในปี๒๕๔๓เล่าว่า คนในพื้นที่ซึ่งได้รับพระซึ่งหลวงพ่อผาดท่านแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่มาช่วยงานในพิธีชักโบสถ์(วางเสาลงตอหม้อของโบสถ์)ของวัดดงตาลเมื่อปี๒๔๗o และได้นำมาบูชาติดตัวกันล้วนแต่พูดเป็นเสียงเดียวกันและเชื่อมั่นในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ค้าขายและโชคลาภ และเป็นที่เคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่งของคนในพื้นที่มาช้านาน สำหรับผู้สนใจ ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ วัดสามัคคีธรรม (ดงตาล) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง (ถนนสายสิงห์บุรี-ลพบุรี) ไปตามถนนท่าวุ้ง-ไชโย (วิทยาลัยพละศึกษาอ่างทอง) ประมาณ ๕ กิโลเมตร หรือที่นายมนัส อยู่เจริญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๖ กรรมการวัดสามัคคีธรรม (ดงตาล) ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี หรือสอบถามมายังผู้รวบรวมเรื่องราว คุณฐกร บึงสว่าง หัวหน้าฝ่ายค้าหลักทรัพย์๖ บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง (มหาชน) จำกัด โทรo๘๑-๘๔๔-๙๘๔๕ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เซียนพระพื้นที่เมืองลพบุรีคุณชัยณรงค์ วงษ์คล้อย โทร o๘๖-๑๓๑-๕๗๓๙ บทวิเคราะห์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคและพระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล จากคุณชัยณรงค์ วงษ์คล้อย เซียนพระพื้นที่ลพบุรี .......หัวข้อที่ 1.ทำไมพระชุดนี้ เพิ่งมาเริ่มดัง เมือเวลาผ่านมาเกือบ 80 ปี... ..................1.1 เมื่อช่วงปี 2470 คนสมัยนั้น นิยมพระแนวนักเลง หรือแนวคงกระพัน-มหาอำนาจ ไม่มิยมพระแนวเมตตา ...พระหูยาน ลพบุรี แพงกว่าสมเด็จวัดระฆัง ขนาด 5 แลก 1 ยังเฉยๆ ...และช่วงนั้นคนนิยมแขวนพระกรุกันมาก และลองนึกดู ลพบุรี เป็นแดนพระกรุศิลปะเขมร ซึ่งเรื่องชือด้าน คงกระพัน-มหาอำนาจ แล้วทำไมต้องมาแขวนพระเนื้อดินใหม่ๆ ที่รับแจกมาจากพระผาด ซึ่งตอนปี 2470 อายุประมาณ 28 ปี อีกทั้งลพ.ปาน ก็ยังไม่มีชื่อมากนัก(มีชื่อเฉพาะเป็นพระหมอ-รักษาคน) เมือปี 2500 พระลพ.ปาน ยังเป็นพระน้ำจิ้มอยู่เลย เพิ่งจะมาเปรี้ยงเมื่อสัก 30 ปีที่ผ่านมานี่เอง พระลพ.ผาด ส่วนมากจะบรรจุกรุ มีแจกบ้างเล็กน้อย เฉพาะคนละแวกพื้นที่ และคนที่เข้าไปรักษากับท่าน จึงทำให้พระไม่เผยแพร่ แต่ลพ.ผาด ไม่ธรรมดานะครับ อายุ 28 ปี สามารถสร้างวัดได้ ขนาดเกจิยุคเก่า ยังต้องใช้ช่วงปลายของชิวิต 5-60 ปี จึงจะรวบรวมความศรัทธาหาคนมาร่วมสร้างวัด นี่แค่อายุ 28 ปี สร้างวัดที่เป็นวัดๆจริงๆ มีโบสถ์มีพระประธาน มีศาลา มีกุฏิ ไม่ใช่แบบสำนักสงฆ์ โดยที่เป็นแค่วัดในบ้านนอก ย่อมไม่ธรรมดาครับที่จะสามารถรวบรามเงินบริจาค รวบรวมความศรัทธาได้มากขนาดนั้น แสดงว่าเก่งจริงและต้องรวมได้ก่อนอายุ28ปี ถึงได้ทำการใหญ่ได้ ไม่ธรรมดาครับ ไม่ธรรมดา.... .......1.2 ลองเปรียบเทียบเกจิ ของ ลพบุรี ช่วงปี 2468-2490 ดูครับ... 1. พระอุปัชฌาย์ก๋ง วัดเขาสมอคอน มรณะเมื่อปี 2468 อายุกว่า 100 ปี 2. ลป.จันทร์ วัดนางหนู มรณะเมื่อ ปี 2490 อายุ 97 ปี 3. ลป.สาย วัดพยัฆคา(วัดเสือ) มรณะปี 2498 อายุ 92 ปี 4. ลป.กรัก วัดอัมพวัน มรณะปี 2487 อายุ 85 ปี 5.ลป.เนียม วัดเสาธงทอง มรณะปี 2485 อายุ 78 ปี ....และยังมีเกจิเรื่องชื่อร่วมยุคอีก เช่น ลพ.กบ วัดเขาสาริกา-ลพ.เภา วัดเถ้ตะโก-ลพ.เล็ก วัดไลย์-ลพ.รุ่ง วัดเชิงท่า...ลองลบเอาเองนะครับว่าปี 2470 พระผาด อายุ 28 ปี เกจิท่าน ที่กล่ามาอายุเท่าไหร่... .......มาถึงคำถาม....ว่า...ถ้าท่านอยู่ช่วง ปี 2470 พระกรุก็แสนหาง่าย เรียกว่าขอกันได้เลย เกจิเก่าก็ชั้นยอด ถ้าจะหาพระแขวนคอสักองค์ ท่านจะมาเลือกพระใหม่ๆของพระผาด ที่อายุแค่ 28 ปี มาแขวนคอหรือไม่...คำตอบคือ ไม่....นี่เองเป็นสาเหตุหลัก อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ คำเล่าขานจากประสบการณ์มีน้อย มีเฉพาะคนพื้นที่จริงๆ ส่วนมากที่ได้ไป ก็จะเก็บไว้เฉยๆบางครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นพระอะไร จึงทำให้ช่วงเวลาขาดหายไปครับผม... ........1.3 พระชุดนี้มีแจกช่วงก่อนบรรจุกรุ 2470-2474 ไม่มากนัก จะมาแตกกรุจริงๆก็เมือปี 2543 แต่ก็ยังไม่ค่อยเผยแพร่มากนัก เนื่องจากเป็นวัดบ้านนอก อีกทั้งกรรมการวัดไม่ค่อยมีความเข้าใจเรื่องการนำเสนอ คงปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพิ่งจะมาเผยแพร่เมื่อปี 2546-47 นี่เองก็พอมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวอยู่บ้าง แต่เนื่องจากพระแตกกรุมาเป็นจำนวนมาก และช่วงนั้นตลาดพระมีพระหมุนเวียนมาก อีกทั้งพระที่หมุนเวียนเข้าตลาด เป็นพระเกรด C เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพระเกรดนี้จะหย่อนสวย พิมพ์จะไม่ลึก พระจะบาง (คนพื้นที่จะเก็บพระสวยเกรดA-Bไว้หมด) ประวัติการสร้าง ช่วงนั้นยังไม่ค่อยชัดเจนทำให้ตลาดไม่ค่อยขานรับเท่าที่ควร..... ........แต่ ณ ตอนนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว มีคนนำประวัติไปเผยแพร่ นำพระสวย เกรด A-B ออกจากรังในพื้นที่ไปสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ตลาดขานรับ ซึ่งถ้าท่านเดินสนามประกวด จะเห็นว่าช่วงเมื่อ 2 เดือนที่แล้วยังพอเห็นกันอยู่ทั่วไป แต่ ณ ปัจจุบัน แทบไม่มีให้เห็นแล้ว จะมีเฉพาะ พระเกรด C และราคาก็ตีกันที่ 3-500 บาทครับ ส่วนสวยๆ เก็บเงียบ ถ้ามีก็ขึ้นพันหมด..... .......และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วงนี้ ตลาดพระเงียบมาก ไม่มีพระกรุหรือเกจิหลักออกมาเปลี่ยนมือเลย พระสวยก็แพงหูฉี่ จะมีแต่พระไม่สวยและพระซอมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เป็นจังหวะที่ดี ที่พระชุดนี้ จะทำให้ตลาดตื่น และอีกไม่ถึง 2 เดือน พระชุดนี้จะลงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ขอทายล่วงหน้าครับว่า จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตลาดแตก ครับผม.... ........บทวิเคาะห์ทั้งหมด เขียนขึ้นมาจากการค้นข้อมูล-การพูดคุยกับมือซื้อ-ขายในสนาม-และการเดินหาข้อมูลจากสนามจริงในหลายๆพื้นที่และงานประกวด-จากการวิเคราะห์จากตัวผมเอง.....ยินดีรับฝังเสียงรอบข้าง และเชิญเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ครับผม..... หัวข้อที่ 2 บทวิเคราะห์เรื่อง ความเกี่ยวข้องกับ ลพ.ปาน วัดบางนมโค และ ลป.ศูข วัดมะขามเฒ่า - ต้องยอมรับกันก่อนว่าเกจิสมัยโบราณ จะถือเรื่อง การวัดรอยเท้าอาจารย์ เป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ กล่าวคือ ตราบใดที่อาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชายังสร้างวัตถุมงคลชนิดนั้นอยู่ เหล่าศิษย์ทั้งหลายจะไม่ยอมสร้างหรือปลุกเสกชนิดเดียวกับอาจารย์เด็ดขาด เพราะว่าเสมือนตีเสมอหรือเป็นการ วัดรอยเท้าอาจารย์ จะต้องรอจนกว่าอาจารย์จะไม่อยู่หรือสร้างไม่ไหวแล้วอนุณาติให้สร้าง-ปลุกเสกได้ ถ้าตราบใดที่อาจารยณ์ยังอยู่ถ้าจะจัดสร้างต้องขอความเมตตาให้อาจารย์ปลุกเสกให้ ถึงแม้นกระนั้นก็ตาม รูปแบบก็จะไม่ลอกเรียนแบบทับlineกัน อย่างดีก็แค่คล้ายคลึงเท่านั้น เฉกเช่น พระชุดนี้ ลพ.ผาด ก็ขอความเมตตาลพ.ปาน จัดสร้างและปลุกเสกให้ เมื่อก่อนปี 2470 ช่วงนั้นลพ.ผาด อายุ 28 ปี ย่อมไม่สร้างหรือปลุกเสกเองแน่นอน และสร้างพระให้แตกต่างกับลพ.ปาน โดยสร้างให้องค์เล็กกว่า และประทับบนสัตย์คนละชนิดกับลพ.ปาน โดยขี่เสือ คือปีเกิดลพ.ผาด ส่วนขี่สิงห์ หมายถึงอำนาจ .......ส่วนเส้นรัศมีรอบองค์พระ ก็เป็นของอาจารย์อีกท่านหนึ่ง คือ ลป.ศูข วัดมะขามเฒ่า แต่ลป.ศูข ท่านมรณะ ปี 2466 คงปลุกเสกไม่ทันลพ.ผาด ท่านคงทำรัศมีไว้เพื่อระลึกถึงคุณอาจารย์ เกจิยุคเก่าท่านจะไม่ทำการใดๆถ้าท่านเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับท่าน เพราะทุกอย่างทำไปด้วยใจบริสุทธิ ด้วยจิตศรัทธา เพื่อการสืบทอดศาสนา ไม่มีการค้าเข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนปัจจุบัน ที่พอลพ.ใด ทำอะไรแล้วดังขึ้นมา บรรดาศิษย์ของลพ.ท่านอื่นก็จะเรียนแบบสร้างตาม โดยที่ลพ.ท่านหลัง อาจจะไม่มีคาถาหรือความสามารถด้านนี้เลย ยกตัวอย่าง ตะกรุดปลอกลูกปืน ใครอยากทำก็สร้างกันไปทั่ว นี่เป็นข้อแตกต่างระหว่างสร้างด้วยความศรัทธากับสร้างตามกระแสที่มีธุระกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง...ครับผม... . ......หลักฐานอีกอย่างหนึ่ง คือ บางองค์ปรากฏ การจารึกตัว ป. ไว้ด้านหลังมีน้อยมากๆ ผมพ่านมือมาแค่ 3 องค์เองครับ ซึ่ง ป.หมายถึง ลพ.ปาน เพราะคนโบราณถือว่าพระเป็นของสูง จะไม่เขียนชื่อตัวเองไว้ที่พระแน่ แต่สันนิฐานว่าคนกดพิมพ์เป็นคนจารึกไว้ ไม่ใช่ลพ.ปาน เพราะถ้าเป็นลพ.ปานจารเอง จะจารเป็นตัวขอม มะอะอุ ครับและพระที่มีการเขียนชื่อไว้ข้างหลังก็ยังมี ของ ลพ.โหน่ง วัดคลองมะดัน และยังไม่เคยปรากฏว่า มีใครในสมัยโบราณอุตริเขียนชื่อตัวเองลงบนพระเครื่องครับ เท่าที่เคยเห็นการเขียนชื่อก็จะเขียน ชื่อคนตายติดไว้กับฐานพระบูชา เช่น พระรัชกาล หรือพระรัตนะครับผม........ ..........................รอยจารึกด้านหลังพระองค์นี้เป็นการจารตอนเปียกก่อนเผา ไม่ใช่เขียนใหม่ สังเกตคราบรารักในร่องลึกให้ดีครับผม...........ป.ปลา ตัวนี้เท่ากับการจารึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของวงการพระเครื่องเมื่องไทยครับผม.......

 

..........................แจ้งเตือน อ่านแล้วมีประโยชน์ครับ........
.............................วีธีแยกเก๊แท้ เบี้องต้น...........ของแท้ต้องมี
....เม็ดมวลสารสีขาว จำเป็นที่สุดต้องมี.....เน้น....ต้องมี..
....รอยครูดของเม็ดกรวด-ทราย ที่เกิดจากการตัดข้าง-ปาดหลังตอนกดพิมพ์ แบบพระเนื้อดินของอยุธยาทั่วไป โดยเฉพาะด้านหลังและขอบข้าง.....เน้น...โดยเฉพาะด้านหลังและขอบข้าง...
....เม็ดกรวด-ทราย จะปรากฏ อยู่ทั่วทั้งองค์ (ภาษาพระ จะเรียก แร่หมัดไฟ)
.....รอยยุบตัวเป็นหลุมเล็กๆ จะปรากฏอยู่ทั่วไป (เกิดจากการแห้ง-หดตัวอย่างเป็นธรรมชาติ)
.....คราบกรุ-รารัก บางๆ มีมากมีน้อย ไม่ยุติอยู่ที่สภาพตอนอยู่ในกรุ
.....เนื้อต้องหยาบแบบปนกรวด-ทราย จะไม่ละเอียด จนไร้มวลสาร..
............ถ้าผิดจากนี้เก๊ครับท่าน...........แต่ไม่ต้องตกใจ ของเก๊ฝืมือที่ 1 ยังทำได้ไม่ดี ไม่มีเม็ดสีขาว เนื้อละเอียดเกินไป แลดูสดๆ แต่สนามนอก ตอนนี้ต้องระวัง เริ่มมีของเก๊เข้ามาแล้วครับท่าน ....แพงวันนี้ ถูกวันหน้า เพราะขนาดนี้ขึ้นทำเนียบพระร้อนแรงที่สุดแห่งปี ทั้งนสพ.และ หนังสือพระอีกหลายเล่มจะลงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหนังสือพระที่แพงที่สุดของไทย ที่เสนอแต่พระเบญจภาคี ก็เล็งเห็นความร้อนแรง ขอข้อมูลไปแล้วกำลังจ่อคิวลงเช่นกัน.................

 




พระเครื่องบจากข่าวสาร นำมาบอกต่อ

กราบนมัสการหลวงปู่อุ้ย วัดคลองคล้า ด้วยเคารพและศรัทธายิ่งขอรับ
งานมุทิตาจิต ครบรอบ 86 ปี หลวงปู่อุ้ย วัดคลองคล้า
คุยกับ ADMIN
พิธีเสก 27 มีนาคม 2559 วัตถุมงคล ธิรธมฺโมภิกฺขุ หลวงปู่ป่วน
๓ พระเกจิแห่งยุค พระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ที่น่าไปกราบสักครั้ง
เปิดจองที่นี่เร็วๆนี้...อย่าพลาดนะครับ ติดตามหน้ากระดานนี้ให้ดี
คุยกันกับลุงทอง คุยทุกเรื่องราว และข่าวสารวงการพระ
ลูกอมมหาเศรษฐีหลวงปู่จันทร์
หลวงปู่พวง ฐานวโร วัดน้ำพุสามัคคี จ.เพชรบูรณ์
เหรียญหลวงพ่อทวด ๙๕ ปี ชาตกาล อาจารย์นอง วัดทรายขาว ปัตตานี
หล่อลอยองค์ปาฏิหาริย์สองโพธิสัตว์ ทองระฆัง จิ๋ว 1.2 ซ.ม.
ปาฏิหาริย์สองโพธิสัตว์
เหรียญเสมาหลวงพ่อทวด รุ่นฉลอง ๗ รอบพ่อท่านเขียววัดห้วยเงาะ
เสือไม้แกะหลวงพ่อขวัญ วัดบางคูวัดนอก รุ่นสอง
ช่อหลวงพ่อเงินรุ่นช้างคู่ วัดท้ายน้ำปี 2526
เหรียญสมปรารถนาครูบาแบ่ง
พระเนื้อว่าน'สู่'พระเนื้อโลหะ' หลวงปู่ทวด ปี 2505
ตะกรุดโทนธงชาติสามกษัตริย์ ขนาด 9 นิ้ว หลวงพ่อพวง วัดน้ำพุสามัคคี
เหรียญรุ่น "มหาเศรษฐี"หลวงปู่พวง วัดน้ำพุสามัคคี เพชรบูรณ์
เหรียญหลวงพ่อทวด รุ่นสร้างบุญ
รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกหลวงพ่อทอง วัดพระพุทธบาทเขายายหอม
พระคันธราช วัดสุทัศน์ เนื้อผงเก่าวัดระฆัง
รูปหล่อโบราณรุ่นแรกหลวงพ่อทอง วัดพระพุทธบาทเขายายหอม
ช่อพระกริ่ง ญสส. รุ่นทรงประทาน
ภาพพิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นบารมี หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล วัดพระพุทธบาทเขายายหอม
จันทร์ลอยพารวย หลวงปู่พวง วัดน้ำพุสามัคคี
ตะกรุดสองกษัตริย์ หลวงปู่พวง วัดน้ำพุสามัคคี
เหรียญเศรษฐีใหม่ หลวงตาชัชวาล์ วัดบ้านปูน อยุธยา
ขุนแผนพรายงามรุ่นแรก หลวงตาชัชวาล์ วัดบ้านปูน อยุธยา
ลพ.ทวดวัดไทร ปี2506...มีการสร้างจริงหรือไม่..พระแท้เป็นแบบไหน....
เหมือนปั้มรุ่นแรกพ่อท่านแสงวัดศิลาลอย จ.สงขลา
"หลวงพ่อคูณ รุ่นเมตตา" เพื่อศูนย์ช่วยผู้ประสบภัย
ผ้ายันต์เสาร์ ๕ ปี ๒๕๕๓
หลวงพ่อเงินรุ่น ปืนแตก
หลวงพ่อโตกรุบางกะทิง
หลวงพ่อเงินรุ่นช้างคู่ ปี 2526
พระผงซุ้มเรือนแก้ว เกศางอก หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
เหรียญสร้างบารมีเจริญพร หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง
ประกาศจากวัดซับน้อย..ล่าสุด
พ่อท่านคล้อย'รุ่นมั่งมีศรีสุข สร้างหอระฆัง-วัดภูเขาทอง
บูชาพระอุปคุต หรือพระบัวเข็ม article
ภาพพิธี ปลุกเสกวัตถุมงคล รุ่น ๔ หลวงปู่ลอง วัดวิเวกวายุพัดฯ พระนครศรีอยุธยา
ภาพการทำลายบล็อกวัตถุมงคลรุ่นปาฏิหารยิ์ 59
สิ้น "หลวงปู่บุญหนา" พระอริยะแห่งสกลนคร ....
หลวงพ่อโปร่ง วัดถ้ำพรุตะเคียน จ.ชุมพร
จำนวนการสร้าง เหรียญนั่งพานวัดบ้านคลองครับ
เหรียญเจริญพรล่าง หลวงพ่อคูณ ปี 2536 ภาพพิธีปลุกเสก จำนวนการจัดสร้าง
วิธีดูพระหูยาน ลพบุรี



Copyright © 2012 www.bt-pra.com