ARRL6449-001-6401245000100021
พระหลวงพ่อพ่วง วัดกก กรุงเทพฯ(ธนบุรี)
พิมพ์โมคคัลลาน์-พระสารีบุตร เนื้อดินเผาผ่านดำ ปี ๒๔๗๓
มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้ บ.การันตีพระ
องค์ขนาดกำลังบูชา จะใช้เอง หรือให้ลูกหลาน
ให้สาวๆเลี่ยมทองคล้องคอบูชาพุทธคุณ แคล้วคลาด ปลอดภัย
สุดยอดสายเหนียวครับ พระเกือบร้อยปี สุดยอดพระเกจิ
เปิดบูชาที่ 1790 บาท
จัดส่ง EMS ทั่วไทยครับ
บันทึกย่อประวัติการสร้างพระกรุเพดานโบสถ์หลวงพ่อพ่วงวัดกก ปี 2473
พระเนื้อดินเผากรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระเนื้อดินเผาผสมผง กรุเพดานโบสถ์ หลวงพ่อพ่วง วัดกก ปี พ.ศ. ๒๔๗๓
การจัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผง ของหลวงพ่อพ่วง รุ่นเพดานโบสถ์ มีประวัติความเป็นมา จากการบอกเล่าของ หลวงพ่อน้อม ญาณสุทธิ อดีตเจ้าอาวาสวัดกก (ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกก ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ - พ.ศ. ๒๕๓๕) หลวงพ่อน้อมท่านได้เล่าถึง ขั้นตอนการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อว่า หลวงพ่อพ่วงท่านได้สั่งให้ลูกศิษย์ไปนำดินมาจากจังหวัดนนทบุรี โดยดินที่ได้มานั้นเป็นดินเหนียวที่ขุดมาจากท้องนา จากอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โดยขนลงเรือแล้วล่องมาที่วัดกก หลวงพ่อพ่วงท่านก็นำดินเหนียวที่ได้มาจากท้องนา แล้วเอามาผสมกับผงวิเศษ ๕ ประการ อันมี ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงมหาราช และผงพุทธคุณ และยังมีผสมด้วยสมุนไพรและว่านต่างๆ แร่บด ตลอดจนปากเหยี่ยว ปากกา เขี้ยวเสือ เล็บเสือ งาช้าง นำมาบดพอละเอียดแล้วจึงนำมาผสมลงในดินเหนียวที่จะสร้างพระเครื่อง
ช่างแกะพิมพ์พระชุดนี้ได้แก่ นายจง พึ่งพรหม และ นายชิต ซึ่งช่วยกันแกะพิมพ์ เมื่อแกะพิมพ์พระขึ้นเสร็จ หลวงพ่อได้เอาดินที่ผสมกับผงวิเศษทั้ง ๕ ประการ และเครื่องสมุนไพรของเคล็คต่างๆ นั้น นำมากดพิมพ์พระ โดยหลวงพ่อพ่วงตั้งใจที่จะสร้างให้ได้ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งเท่ากับ จำนวนของพระธรรมขันต์ โดยมีแบบพิมพ์ทั้งหมด ๒๔ แบบพิมพ์ จึงได้ขอร้องให้ทางวัดสีสุก และ วัดยายร่ม ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาช่วยกดพิมพ์พระด้วย เสร็จแล้ว หลวงพ่อพ่วงท่านให้นำพระเครื่องทั้งหมดไปผึ่งแดดจนแห้งได้ที่ หลังจากนั้นหลวงพ่อพ่วงท่านก็นำพระเครื่องที่ผึ่งแดดแห้งได้ที่แล้วเข้าเผา โดยสุมแกลบที่ลานวัด และในขณะที่เผาพระเครื่องเนื้อดินเหนียวอยู่นั้น หลวงพ่อพ่วงจะไปเฝ้าบริกรรมปลุกเสกแผ่พลังจิตลงไป ขณะที่พระได้รับความร้อนเป็นการหนุนเตโซธาตุ (ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งหลวงพ่อโหน่งท่านก็ปลุกเสกขณะพระกำลังเผาไฟอยู่เช่นกัน)
หลังจากเผาพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงเสร็จแล้ว หลวงพ่อพ่วงท่านจึงเข้าปลุกเสกภายในพระอุโบสถวัดกกเป็นเวลานานหลายพรรษา โดยที่หลวงพ่อพ่วงท่านจะปลุกเสกอยู่ตลอดแทบทุกวันหลังจากทำวัตรสวดมนต์ในพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๙ รวมแล้วนานถึง ๖ ปีเต็ม แล้วจึงนำพระเครื่องเนื้อดินเผาทั้งหมดขึ้นเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดกก
ต่อมาในสมัยพระมหาสมบูรณ์ ปภากโร ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดกก (ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกกเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕) ได้ทำการเปิดกรุพระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วง ซึ่งบรรจุอยู่บนเพดานโบสถ์วัดกก ออกมาให้ประชาชนได้เช่าบูชา
แบบพิมพ์พระทั้งหมด ๒๔ พิมพ์ มี ดังนี้คือ
๑.พิมพ์ปางมารวิชัย สดุ้งกลับ
๒.พิมพ์ไพ่ตองสดุ้งกลับ
๓.พิมพ์ฐานบัวสามชั้น
๔.พิมพ์สมาธิข้างยันต์ ระบุปี พ.ศ.
๕.พิมพ์ชินราชซุ้มเรือนแก้ว (บางคนเรียกเป็นพิมพ์ชินราชซุ้มประตู)
๖.พิมพ์ชินราชซุ้มเปลวเพลิง
๗.พิมพ์ปางมารวิชัยข้างยันต์ นะ มะ อะ อุ ระบุปี พ.ศ.
๘.พิมพ์สมาธิข้างยันต์ มะ อะ อุ ระบุปี พ.ศ.
๙.พิมพ์โมคัลลาน์สารีบุตร
๑๐.พิมพ์ปรกโพธิ์
๑๑.พิมพ์ซุ้มหยัก
๑๒.พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้วใหญ่
๑๓.พิมพ์ขุนแผนซุ้มเรือนแก้วเล็ก
๑๔.พิมพ์ยอดขุนพล
๑๕.พิมพ์ซุ้มกอใหญ่
๑๖.พิมพ์ซุ้มกอเล็ก
๑๗.พิมพ์พระสมเด็จฐานเจ็ดชั้นใหญ่
๑๘.พิมพ์พระสมเด็จฐานเจ็ดชั้นเล็ก
๑๙.พิมพ์พระลีลาใหญ่
๒๐.พิมพ์พระลีลาเล็ก
๒๑.พิมพ์จันทร์ลอย
๒๒.พิมพ์งบน้ำอ้อย
๒๓.พิมพ์นางพญาพิมพ์ใหญ่บล็อคลึกกับบล็อคธรรมดา
๒๔.พิมพ์นางพญาพิมพ์เล็ก
**ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ขอบคุณทุกท่านที่นำเผยแผ่ไว้ (ขออนุญาตนำข้อมูลเผยแผ่ เพื่อผู้สนใจในบารมีของหลวงพ่อได้รับทราบข้อมูลครับ)