ReadyPlanet.com
dot dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
เปิดจองพระเครื่องสร้างใหม่
ห้องคิวจอง
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot

dot
มุมอมยิ้ม


แบนเนอร์ตัวอย่าง
Facebook bt-pra
บัวทองพระเครื่อง
ข่าวออนไลน์
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล


พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ พิมพ์พระศกจุด
 

ARRL6386-111-630921000080014

12563000159036

พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500

พุทธพิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย

พิมพ์พระศกจุด  มีกล่องให้ด้วย

เป็นพระเครื่องที่น่าบูชาเป็นที่สุดครับ

เปิดบูชาที่  เช่าแล้ว  บาท

จัดส่ง EMS ทั่วไทยครับ


 

 

ในปีพุทธศักราช 2500 พระพุทธศาสนายุกาลล่วงพ้นเป็นเวลา 2,500 ปี นับตั้งแต่พุทธปรินิพพาน หรือการเสด็จดับขันธปรินิพพานของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือนวิสาขะ

 

 

ดังนั้นในปี พ.ศ.2500 รัฐบาลสมัยนั้น นำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้จัดงานเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ รวมทั้งการก่อสร้างพุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม พร้อมด้วยพระประธานแห่งพุทธมณฑล ตลอดไปจนถึง "วัตถุมงคล 25 พุทธศตวรรษ"

 

วัตถุมงคลที่เรียกชื่อกันว่า "พระ 25 พุทธศตวรรษ" เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคล ที่ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช" ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี ทั้งเททองและกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ตลอดทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในช่วงต้นแห่งการสร้างวัตถุมงคลด้วยพระองค์

การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนั้น คณะกรรมการได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชวโรกาส เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป และทรงกดพิมพ์พระพิมพ์เนื้อดิน เป็นปฐมฤกษ์

หนังสือ "พุทธมณฑลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" หน้า 111-112 ได้บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้น ความว่า ...

"วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2500 เวลา 16 นาฬิกา 30 นาที พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ มายัง วัดสุทัศนเทพวราราม เสด็จขึ้นบนพระวิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระศรีศากยมุนี แล้วเสด็จฯ ไปยังพระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะ และ พระราชาคณะ ถวายศีลจบแล้วเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดเทียนมหามงคล โหรบูชาฤกษ์ เวลา 17 นาฬิกา 8 วินาที ถึงเวลา 17 นาฬิกา 17 นาที เสด็จฯ ไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถทรงเททองหล่อ "พระพุทธรูปทองคำแบบพุทธลีลา 4 องค์" และทรงพิมพ์ "พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ" ชนิด "พระเนื้อดินผสมผงเกสร 30 องค์" เป็นปฐมฤกษ์ โหรลั่นฆ้องชัย เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตร และดุริยางค์ สมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ 25 รูป เจริญชัยมงคลคาถา พระราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณหลั่งน้ำพระมหาสังข์ เสด็จฯ กลับเข้าพระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จฯ กลับ พระสงฆ์ 25 รูป เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว "พระคณาจารย์ 108 รูป" นั่งปรกปลุกเสกบรรจุพุทธาคมต่อตลอดคืน"

จากบันทึกการจัดสร้าง "พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ" ได้ระบุชัดเจนว่า ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวราราม ทั้งหมดตั้งแต่การเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ "พระพุทธรูปลีลาทองคำ 4 องค์" และทรงกดพระพิมพ์เนื้อดินเป็นปฐมฤกษ์จำนวน 30 องค์ จากนั้นอีก 3 เดือน หลังการจัดสร้างพระครบตามจำนวนแล้วคณะกรรมการจึงจัดพิธีพุทธาภิเษกที่พระวิหารพระศรีศากยมุนี โดยมี พระคณาจารย์ชื่อดัง 108 รูป นั่งปรกปลุกเสกภายในวิหารคด

 

กล่าวได้ว่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ไม่มีพิธีกรรมการจัดสร้างพระเครื่องครั้งใดที่ยิ่งใหญ่เฉกเช่นพิธีสร้าง "พระฉลอง 25 พุทธศตวรรษ" เมื่อปี พ.ศ.2500 อีกแล้ว

 

 

ด้วยเป็นการสร้างจำนวนนับล้านองค์ และเป็นการสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์ อีกทั้ง พระเกจิคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกมากถึง 108 รูป

 

พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ประกอบด้วย

1.พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ เป็นพระพุทธรูปบูชา ปางลีลา ขนาดความสูง 10 นิ้ว ใต้ฐานบัวลงไปเป็นฐานอีกชั้นหนึ่งประทับด้วย ตราครุฑ ฝีมือการออกแบบปั้นโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

2.เหรียญพระลีลา 25 พุทธศตวรรษ จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อชิน เนื้อเงิน

3.เหรียญเสมาพระลีลา 25 พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ

4.พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ เนื้อแร่ (ผสมผงตะไบพระกริ่ง วัดสุทัศน์)

ทั้งนี้ "พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ" ที่จัดสร้างทุกเนื้อและทุกแบบ มีจำนวนรวมกัน ทั้งสิ้น 4,842,500 องค์

นอกจากให้ประชาชนได้เช่าบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลและนำรายได้ไปสมทบทุนสร้างพุทธมณฑลแล้ว ยังนำไปบรรจุกรุตามวัดและศาสนสถานสำคัญต่างๆ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

จำนวน 4,842,500 องค์ มีความหมาย คือ

 

1.เลข 4 ในหลักล้าน เป็นจุดเริ่มต้นมีความหมายว่า "สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาเอกของโลก" ตรัสรู้ "อริยสัจสี่" คือ "ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค" คือหลักความเป็นจริงอันเป็นสิ่งประเสริฐทำให้ห่างไกลจากศัตรูซึ่งก็คือ (กิเลส)

 

 

2.เลข 8 และเลข 4 ในหลักแสนและหลักหมื่น มีความหมายว่า "พระอริยสัจสี่" (ความจริง 4 ประการของพระอริยเจ้า) ที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์ ตรงกับความจริงอันประเสริฐ (4 ประการ) ที่ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ แต่ต้องการให้จำนวนตัวเลขปิดท้ายตรงกับจำนวน พระพุทธศาสนายุกาล (อายุของพระพุทธศาสนา) 5,500 ปี จึงขยับ เลข 8 มาอยู่ที่หลักแสนและ เลข 4 มาอยู่ที่หลักหมื่น3.เลข 2 และเลข 5 ในหลักพันและหลักร้อย ก็คือจำนวนปีที่พระพุทธศาสนายุกาล (อายุของพระพุทธศาสนา) ได้ยืนยงดำรงคงอยู่มาถึง 2,500 ปี แสดงให้เห็นว่า "พระอริยสัจสี่" หรือ "ความจริงอันประเสริฐ" ที่ สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมศาสดาเอกของโลก ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองและทรงนำมาประกาศสั่งสอนเผยแพร่ภายในระยะเวลา 45 ปีแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้มีอายุยืนยาวมาถึง 2,500 ปีแล้วภายหลังพุทธปรินิพพานเป็นต้นมา

 

พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ได้มีการนำไปบรรจุกรุ ตามพระอารามสำคัญทั่วพระราชอาณาจักร 1,601,474 องค์ นอกจากนั้น ให้ประชาชนบูชา 3,240,846 องค์ นับเป็นจำนวนมากมายมหาศาล

ปัจจุบัน พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ยังพอมีให้ผู้ที่สนใจได้บูชา สอบถามได้ที่สำนักงานพุทธมณฑล ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

 

การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม
ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป

 

 

1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรง***บ จ.พระนคร
23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
107. พระครู*** วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

 

-----------------------------------------------------------------------------------

 




6.พระ 25 พุทธศตวรรษ

พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พุทธพิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พุทธพิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500 พุทธพิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500 พุทธพิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พิมพ์รองเท้าบูท
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 โค๊ต วป (วัดป่าประดู่)
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พิมพ์หางหงส์
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พิมพ์รองเท้าบูท
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พิมพ์ตาตุ่ม
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน+แร่ ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน+แร่ ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินดำ ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินดำ ปี 2500
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อตะกั่ว ปี 2500 พิมพ์หางหงส์
พระพุทธ 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดิน ปี 2500
พระ 25 พุทธศตวรรษ ครบชุด 8 เหรียญ สำนักพุทธรัตนประทีป



Copyright © 2012 www.bt-pra.com