ReadyPlanet.com


บางกะทิง......บ้านเกิด..กับการกลับไปกรุงเก่า
avatar
Admin


 บางกะทิง......บ้านเกิด..กับการกลับไปกรุงเก่า

 



(N)

วันนี้ผมได้มีโอกาสกลับไปถิ่นเกิด กลับสู่บางกะทิง
ได้ไปกราบสักการะรูปเหมือนสมเด็จพุฒจารย์(โต)ฯที่วัดบางกะทิง

วัดที่เมื่อวัยเด็กผมเคยได้วิ่งเล่น เคยได้ไปเที่ยวงานวัดประจำปี ดูหนัง ดูลิเก ดูชาโดว์...

ผ่านมาหลายปีวัดได้ถูกบูรณปฏิสังขรณ์จนมีความสวยงามตระการตาไปมากครับ


 

   

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 


(N)


รูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์องค์ใหญ่ประดิษฐานที่วัดบางกะทิงครับ

 

   

 


(N)


รูปพระหลวงพ่อโตที่ช่างได้บรรจงปั้นไว้ตามจุดต่างๆ

 

 

 

 

 


(N)


โบสถ์และพระประธานภายในโบสถ์วัดบางกะทิงครับ

 

 
ขออภัยครับรูปบนไม่ใช่พระประธานในโบสถ์ครับ
เป็นพระในวิหารครับ

 

 

 


(N)


พระประธานในโบสถ์ และรูปจำลองหลวงพ่อโตบางกะทิงครับ

 

 

 


(N)


รอบๆวัดครับ

 

   

 


(N)


ท่านใดมีโอกาสผ่านไปอยุธยา อย่าลืมนะครับสถานที่ไหว้พระอีกที่ ที่มีบรรยากาศร่มรื่นย์สวยงาม

ได้กราบรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี และยังได้ไปร่วมรำลึกและค้นหา
สถานที่แตกกรุของพระเครื่องสุดยอดคงกระพันชาตรี อันโด่งดังแห่งกรุงศรีอยุธยา

"หลวงพ่อโตกรุวัดบางกะทิง"


 

 

 


(N)


บรรยากาศท้องทุ่งคุ้งน้ำครับ

 

 

 

 


(N)


สะพานข้ามคลองหน้าวัดเดิมนั้นเป็นสะพานไม้ ไปเที่ยวนี้กลายเป็นสะพานปูนแล้ว

คลองหน้าวัดบางกะทิงนี้เมื่อก่อนนั้น การจราจรทางน้ำครึกคักมาก ทั้งเรือเมล์ แม่ค้า ร้องขายของกันลั่นสนั่นคลองคึกคักมาก

กลับไปวันนี้น้ำในคลองนิ่งสนิทแทบไม่มีการเคลื่อนไหว แต่ความทรงจำเก่าๆมันยังอยู่ในห้วงสำนึก
หลับตาครั้งใดก็ยังนึกภาพออกไม่เคยลืมเลือน


 

 

 


(N)


เจดีย์ใหญ่เก่ามากผมเกิดมาก็เห็นแล้วครับ

 

   

 


(N)


วิหารพระครูพิศิษฐ์สังฆการ อดีตเจ้าอาวาส ตอนที่เปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง

 

 

 


(N)
บ้านเก่าบ้านเดิมบ้านเกิดผม ที่หลังคาสีฟ้า อยู่ฝั่งตรงข้ามกับวัดบางกะทิง

น่าเสียดายที่บ้านหลังนี้กลายเป็นบ้านร้าง ไม่มีใครอาศัยอยู่เลยครับ ท่านจากไปสวรรค์กันแล้วครับ
เหลือแต่บ้าน..ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลานได้กลับมารำลึกความหลังกันตามเวลาอันสมควร

ผมยืนถ่ายภาพนี้ที่หน้าท่าน้ำวัดบางกะทิงครับ

----------------------------

 

 

   
ประวัติวัดบางกะทิง

ต. หัวเวียง อ. เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา

วัด นี้เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สร้างในปลายรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช การสร้างขึ้นในครั้งนั้น นัยว่าพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) เป็นผู้นำการสร้างขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จเรียบร้อยทั้งหมด ครั้งต้นแผ่นดินพระเทพราชาพระญาติราชวงศ์บ้านพลูหลวงได้มาสร้างเพิ่มเติมจน สำเร็จเรียบร้อย และตั้งชื่อว่าวัดใหม่บางกะทิง เดิมทีเดียวนั้นวัดไม่ได้อยู่ตรงปัจจุบันนี้ สถานที่ตั้งอยู่เดิมคงอยู่ตอนเหนือวัดไปราว ๑ เส้น เนื้อที่ที่สร้างวัดนี้ เป็นเนื้อติดกับเขตบริเวณบ้านพักของพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) ปัจจุบัน มีต้นสตือเก่าแก่อยู่ ๒ ต้น เขตบริเวณบ้านพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) นี้ปัจจุบันเป็นที่ทำสวนครัวปลูกพืชของนายบุญชอบ นางตลุ่ม ฤกษ์สมโภชน์ และที่นาของนายมาก นางจรัญ ปิยะนุช เมื่อคราวที่นายบุญชอบ นางตลุ่ม ฤกษ์ สมโภชน์ ได้ขุดคูถมโคกในเนื้อที่ประมาณ ๒ไร่ เพื่อปลูกพืชต่างๆได้พบเศษถ้วยชามในสมัยอยุธยาเป็นจำนวนมาก และได้พบตัวหมากรุกซึ่งทำด้วยดินเผาจำนวนหนึ่ง ส่วนมากชำรุดและมีดีๆอยู่บ้างก็ไม่สนใจ ขณะนี้ยังเหลืออยู่ ๑ชิ้น ผู้สันทัดกรณีย์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาในแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์

เหตุ ที่วัดย้ายจากที่เดิมมาอยู่ ณ ที่เห็นในปัจจุบันนี้ เพราะเหตุว่ากระแสน้ำได้เปลี่ยนทางเดินลำน้ำเดิมนั้นจากข้างวัดใบบัวล่องลง มาผ่านหน้าวัดโคกกระทุ่ม (ปัจจุบันนี้เป็นวัดร้าง) ผ่านหน้าวัดใหม่บางกระทิงและไหวไปออกปลายเขตบ้านทางช้าง ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งวัดสุวรรณเจดีย์ ครั้นกระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่ อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ จึงทำให้ลำคลองเก่าตื้นเขินขึ้นและเดินเป็นพื้นเดียวกัน วัดใหม่บางกะทิงจึงอยู่ห่างไกลตลิ่งออกไปทุกที จึงทำการย้ายมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้

การย้ายมาอยู่ ที่แห่งใหม่นี้ ในราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในการย้ายและปฏิสังขรณ์ใหม่นี้ พระยาประสิทธิ์ (น้อย) เป็นหัวหน้าในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดใหม่เจ้าพระยามัคคาราม” แต่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า วัดใหม่ ในที่สุดคำว่า เจ้าพระยามัคคารามก็เลือนหายไปในที่สุด และเรียกวัดใหม่กันเรื่อยมา ครั้นต่อมาท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันจึงเปลี่ยนเป็น “บางกะทิง”ทั้งนี้เพื่อรักษานามเดิมและชื่อของตำบล

วัด บางกะทิงนี้นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ ที่รองลงมาจากวัดโคกกระทุ่ม และ วัดไผ่ล้อม (ปัจจุบันทั้งสองวัดนี้เป็นวัดร้าง)คำว่าวัดใหม่นี้บางท่านอาจเข้าใจผิดว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวัดอื่นๆในละแวกนั้นคำว่า วัดใหม่นั้นคือ สร้างขึ้นใหม่ต่อจากวัดโคกกระทุ่ม และวัดไผ่ล้อมนั้นเอง แต่สร้างขึ้นก่อนวัดโบสถ์บนวัดใบบัว วัดประคู่โลกเชษฐ์ วัดบันไดช้าง วัดสุวรรณเจดีย์ วัดหัวเวียง วัดโบสถ์ล่าง วัดยวด ทุกวัดนี้อาวาสที่ชอบบริหารก็ก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปตาม ความคิดเห็น เจ้าอาวาสองค์ใดไม่ชอบบริหารก็ปล่อย ให้ ทรุดโทรมไป ชาวบ้านที่มีศรัทธาจะก่อสร้างสิ่งใด ก็สร้างขึ้นตามความชอบของตน ฉะนั้นถาวรวัตถุบางอย่างจึงไม่เหมาะกับสถานที่ จึงดูไม่เหมาะสมสวยงามตามแบบแปลนแผนผังในปัจจุบันนี้



ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นยุคที่วัดทรุดโทรมมาก ครั้นต่อมา นายอุย นางไหม คหบดีในตำบลได้มีศรัทธาก่อสร้างพระเจดีย์ วิหาร และพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลืองขนาดใหญ่ไว้อีกจำนวนหลายองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ นางพ่วง ฤกษ์เกษม ได้สร้างหอสวดมนต์และศาลาท่าน้ำ

วัดนี้มารุ่งเรืองขึ้นในสมัยที่ท่านพระครูพิศิษฐ์สังฆการ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านเจ้าอาวาสองค์นี้ชอบบริหารและมีฝีมือในการช่างอยู่บ้าง เมื่อท่านมาอยู่ก็เริ่มลงมือปฏิสังขรณ์อุโบสถทันที โดยมีท่านเจ้าคุณวิมลศีล (ลับ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน เป็นผู้สนับสนุนในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณสุวรรณวิมลศีล เห็นพระประธานในพระอุโบสถมี๒องค์ชอบกลอยู่ และเห็นว่าไม่เหมาะสมและขาดความสวยงาม จึงให้ย้ายเอาไปไว้ในพระวิหารเสียองค์หนึ่ง ที่เหลืออีกองค์หนึ่งก็ให้ช่างพอกปูนใหม่ เพื่อให้ใหญ่ขึ้นกว่าเก่า นายฟู พุ่มโอภาษขณะนั้นบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้เป็นผู้ปั้นโดยทุนส่วนตัวของ ท่านเจ้าอาวาส และท่านได้ขายเข็มขัดของโยมมารดาคิดเป็นเงินในสมัยนั้น ๒๕๐ บาท เข้าร่วมด้วย ส่วนฐานชุกชีได้รับเงินบริจาคจากคณะสัปบุรุษ เมื่อสร้างเสร็จได้จ้างนางสะอาด บ้านพรานนก ธนบุรี เป็นผู้ปิดทอง สิ้นเงินค่าทองและค่าแรงงาน ๑๑, ๕๐๐ บาทท่านเจ้าอาวาสได้สละเงินส่วนตัว และได้ขายจี้ทองคำฝังเพชรของโยมมารดา คิดเป็นเงินในสมัยนั้น ๑, ๖๐๐ บาท เข้าร่วมกับเงินของคณะสัปบุรุษ

การปฏิสังขรณ์อุโบสถเริ่มลงมือ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๒๘.๐๐๐ บาทเศษ

นายช่างที่ก่อสร้างครั้งนี้คือ นายเฟื่อง ภิญญโภธิ์ เป็นนายช่างใหญ่ นายหนวน ทองสีจัด เป็นนายช่างรอง เดิมทีเดียวใช้กระเบื้องดินเผาธรรมดามุงหลังคา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงประสิทธิ์นรกรรม(เหจี่ยน หงส์ประภาษ) และคุณนาย ได้บริจาคทรัพย์เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบให้ใหม่ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนค่ารื้อและมุง ท่านเจ้าอาวาสและคณะสัปบุรุษช่วยกันบริจาคเป็นเงิน ๒, ๐๐๐ บาท
------------------------------------------------


ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2015-04-17 10:46:36 IP : 124.122.227.41


Copyright © 2012 www.bt-pra.com