ReadyPlanet.com
dot dot
dot
อีเมล :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
เปิดจองพระเครื่องสร้างใหม่
ห้องคิวจอง
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot

dot
มุมอมยิ้ม


แบนเนอร์ตัวอย่าง
Facebook bt-pra
บัวทองพระเครื่อง
ข่าวออนไลน์
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล


การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่1

ประวัติวัดบางกะทิง

       ต.  หัวเวียง   อ.   เสนา  จ.   พระนครศรีอยุธยา                                     

          วัด นี้เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สร้างในปลายรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช การสร้างขึ้นในครั้งนั้น นัยว่าพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) เป็นผู้นำการสร้างขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จเรียบร้อยทั้งหมด ครั้งต้นแผ่นดินพระเทพราชาพระญาติราชวงศ์บ้านพลูหลวงได้มาสร้างเพิ่มเติมจน สำเร็จเรียบร้อย และตั้งชื่อว่าวัดใหม่บางกะทิง เดิมทีเดียวนั้นวัดไม่ได้อยู่ตรงปัจจุบันนี้ สถานที่ตั้งอยู่เดิมคงอยู่ตอนเหนือวัดไปราว ๑ เส้น เนื้อที่ที่สร้างวัดนี้ เป็นเนื้อติดกับเขตบริเวณบ้านพักของพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) ปัจจุบัน มีต้นสตือเก่าแก่อยู่ ๒ ต้น เขตบริเวณบ้านพระยาสีหราชเดโชชัย (ทิป) นี้ปัจจุบันเป็นที่ทำสวนครัวปลูกพืชของนายบุญชอบ นางตลุ่ม  ฤกษ์สมโภชน์ และที่นาของนายมาก  นางจรัญ  ปิยะนุช เมื่อคราวที่นายบุญชอบ  นางตลุ่ม  ฤกษ์ สมโภชน์ ได้ขุดคูถมโคกในเนื้อที่ประมาณ ๒ไร่ เพื่อปลูกพืชต่างๆได้พบเศษถ้วยชามในสมัยอยุธยาเป็นจำนวนมาก และได้พบตัวหมากรุกซึ่งทำด้วยดินเผาจำนวนหนึ่ง ส่วนมากชำรุดและมีดีๆอยู่บ้างก็ไม่สนใจ ขณะนี้ยังเหลืออยู่ ๑ชิ้น ผู้สันทัดกรณีย์ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาในแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์

           เหตุ ที่วัดย้ายจากที่เดิมมาอยู่ ณ ที่เห็นในปัจจุบันนี้ เพราะเหตุว่ากระแสน้ำได้เปลี่ยนทางเดินลำน้ำเดิมนั้นจากข้างวัดใบบัวล่องลง มาผ่านหน้าวัดโคกกระทุ่ม (ปัจจุบันนี้เป็นวัดร้าง) ผ่านหน้าวัดใหม่บางกระทิงและไหวไปออกปลายเขตบ้านทางช้าง ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งวัดสุวรรณเจดีย์ ครั้นกระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่ อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ จึงทำให้ลำคลองเก่าตื้นเขินขึ้นและเดินเป็นพื้นเดียวกัน วัดใหม่บางกะทิงจึงอยู่ห่างไกลตลิ่งออกไปทุกที จึงทำการย้ายมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้

             การย้ายมาอยู่  ที่แห่งใหม่นี้ ในราชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ในการย้ายและปฏิสังขรณ์ใหม่นี้  พระยาประสิทธิ์ (น้อย) เป็นหัวหน้าในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า วัดใหม่เจ้าพระยามัคคาราม แต่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆว่า วัดใหม่ ในที่สุดคำว่า เจ้าพระยามัคคารามก็เลือนหายไปในที่สุด และเรียกวัดใหม่กันเรื่อยมา ครั้นต่อมาท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันจึงเปลี่ยนเป็น บางกะทิงทั้งนี้เพื่อรักษานามเดิมและชื่อของตำบล

             วัด บางกะทิงนี้นับว่าเป็นวัดเก่าแก่ ที่รองลงมาจากวัดโคกกระทุ่ม และ วัดไผ่ล้อม (ปัจจุบันทั้งสองวัดนี้เป็นวัดร้าง)คำว่าวัดใหม่นี้บางท่านอาจเข้าใจผิดว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวัดอื่นๆในละแวกนั้นคำว่า วัดใหม่นั้นคือ สร้างขึ้นใหม่ต่อจากวัดโคกกระทุ่ม และวัดไผ่ล้อมนั้นเอง แต่สร้างขึ้นก่อนวัดโบสถ์บนวัดใบบัว วัดประคู่โลกเชษฐ์ วัดบันไดช้าง วัดสุวรรณเจดีย์ วัดหัวเวียง วัดโบสถ์ล่าง วัดยวด ทุกวัดนี้อาวาสที่ชอบบริหารก็ก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปตาม ความคิดเห็น เจ้าอาวาสองค์ใดไม่ชอบบริหารก็ปล่อย                         ให้ ทรุดโทรมไป ชาวบ้านที่มีศรัทธาจะก่อสร้างสิ่งใด ก็สร้างขึ้นตามความชอบของตน ฉะนั้นถาวรวัตถุบางอย่างจึงไม่เหมาะกับสถานที่ จึงดูไม่เหมาะสมสวยงามตามแบบแปลนแผนผังในปัจจุบันนี้

             ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นยุคที่วัดทรุดโทรมมาก ครั้นต่อมา นายอุย นางไหม คหบดีในตำบลได้มีศรัทธาก่อสร้างพระเจดีย์  วิหาร และพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลืองขนาดใหญ่ไว้อีกจำนวนหลายองค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ นางพ่วง ฤกษ์เกษม ได้สร้างหอสวดมนต์และศาลาท่าน้ำ

              วัดนี้มารุ่งเรืองขึ้นในสมัยที่ท่านพระครูพิศิษฐ์สังฆการ (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ท่านเจ้าอาวาสองค์นี้ชอบบริหารและมีฝีมือในการช่างอยู่บ้าง เมื่อท่านมาอยู่ก็เริ่มลงมือปฏิสังขรณ์อุโบสถทันที โดยมีท่านเจ้าคุณวิมลศีล (ลับ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน เป็นผู้สนับสนุนในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ท่านเจ้าคุณสุวรรณวิมลศีล เห็นพระประธานในพระอุโบสถมี๒องค์ชอบกลอยู่ และเห็นว่าไม่เหมาะสมและขาดความสวยงาม จึงให้ย้ายเอาไปไว้ในพระวิหารเสียองค์หนึ่ง ที่เหลืออีกองค์หนึ่งก็ให้ช่างพอกปูนใหม่ เพื่อให้ใหญ่ขึ้นกว่าเก่า นายฟู พุ่มโอภาษขณะนั้นบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้เป็นผู้ปั้นโดยทุนส่วนตัวของท่านเจ้าอาวาส และท่านได้ขายเข็มขัดของโยมมารดาคิดเป็นเงินในสมัยนั้น ๒๕๐ บาท เข้าร่วมด้วย ส่วนฐานชุกชีได้รับเงินบริจาคจากคณะสัปบุรุษ เมื่อสร้างเสร็จได้จ้างนางสะอาด บ้านพรานนก ธนบุรี เป็นผู้ปิดทอง สิ้นเงินค่าทองและค่าแรงงาน ๑๑, ๕๐๐ บาทท่านเจ้าอาวาสได้สละเงินส่วนตัว และได้ขายจี้ทองคำฝังเพชรของโยมมารดา คิดเป็นเงินในสมัยนั้น  , ๖๐๐ บาท   เข้าร่วมกับเงินของคณะสัปบุรุษ

             การปฏิสังขรณ์อุโบสถเริ่มลงมือ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๒๘.๐๐๐ บาทเศษ

             นายช่างที่ก่อสร้างครั้งนี้คือ นายเฟื่อง ภิญญโภธิ์ เป็นนายช่างใหญ่ นายหนวน ทองสีจัด เป็นนายช่างรอง เดิมทีเดียวใช้กระเบื้องดินเผาธรรมดามุงหลังคา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงประสิทธิ์นรกรรม(เหจี่ยน หงส์ประภาษ) และคุณนาย ได้บริจาคทรัพย์เปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบให้ใหม่ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนค่ารื้อและมุง ท่านเจ้าอาวาสและคณะสัปบุรุษช่วยกันบริจาคเป็นเงิน ๒, ๐๐๐ บาท

           เมื่อได้ปฏิสังขรณ์อุโบสถเสร็จเรียนร้อยแล้ว ท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปฏิสังขรณ์สิ่งอื่นๆ ตลอดมา จนปัจจุบันนี้สภาพวัดบางกะทิงที่ท่านเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นภารกิจที่ท่านเจ้าอาวาส ได้พยายามกระทำ มาด้วยความ วิริยะอุสาหะ ในปณิธานอันแรงกล้าเพื่อที่จะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่วัดนี้เพื่อให้สมกับที่วัดบางกะทิงนี้เป็นวัดที่มีโบราณวัตถุอันศักสิทธิ์ คือ พระพิมพ์หลวงพ่อโต ที่มีพุทธานุภาพมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ครั้งหนึ่งในอดีต พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เคยเสด็จประพาสเนื่องในงานทอดกฐินของนายช้างซึ่งเป็นเพื่อนต้น และเป็นวัดที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง ธนบุรี ได้เคยมาจำพรรษาอยู่ และได้สร้างพระพิมพ์ หลวงพ่อโตเพิ่มเติมไว้เพื่อให้ทุกท่านได้ไว้ บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล อันเป็นสมบัติที่ทุกท่านพึงเทิดทูนบูชารักษาไว้ เพราะพุทธรูปต่างๆองค์ใหญ่ก็ดี องค์เล็กก็ดี ที่ท่านเจ้าอาวาสพระคุณสมเด็จ ได้สร้างไว้นับว่าเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่ท่านเจ้าพระคุณ

 

สมเด็จได้มอบไว้ให้แก่พวกเรา และเป็นสมบัติที่หาค่าประมาณมิได้ จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่พวกเราควรจะปิติและภูมิใจในสมบัติอันล้ำค่าที่ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ ได้มอบให้

           ปัจจุบัน นี้ อุโบสถได้ชำรุดทรุดโทรมบางแห่ง คณะอาจารย์ ร.ร. เตรียมจุฬา โดยการนำของอาจารย์บุญเลื่อน เครือตราชู และอาจารย์อุดม วัชรสกุณี ร่วมด้วยคณะอาจารย์ได้นำองค์กฐินมาทออด เพื่อรวบรวมทุนทรัพย์ปฏิสังขรณ์อุโบสถให้มั่นคงถาวรสืบต่อไป เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๐ ซึ่ง ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ประวัติวัด การเปิดกรุ หลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ....

การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่ 2
การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่ 3
การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่ 4
การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่ 5
การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่ 6
การเปิดกรุหลวงพ่อโตวัดบางกะทิง ตอนที่ 7



Copyright © 2012 www.bt-pra.com